[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
อำนาจ วิชยานุวัต และคณะ. (2553). การดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ทุนอุดหนุนวิจัยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ). กรุงเทพฯ,สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้ฐาน.
 
  บทคัดย่อ | ทฤษฎี | ครื่องมือวิจัย | นวัตกรรม | เข้าชม 5,271 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
1. สภาพจริงของการดาเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปัจจุบันเป็นอย่างไร 2. รูปแบบการดาเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สามารถดาเนินการให้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารและการทางานตามปกติและเกิดผลในทางปฏิบัติจริง เป็นอย่างไร
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพการดาเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. เพื่อพัฒนารูปแบบการดาเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้

3. สมมติฐานการวิจัย
-
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
นำข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จาการบันทึกมาวิเคราะห์ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) การตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Inductive) และการแจกแจงข้อค้นพบที่สำคัญในเชิงบรรยาย(Narrative Form)โดยใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลหลายมิติ (Triangulation) จากข้อมูลต่าง ๆ กันเพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลเรื่องเดียวกัน สรุปเป็นผลการวิจัยพัฒนาการดาเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
เครื่องมือที่ใช้
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย แบบบันทึกรายการต่าง ๆ ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง แบบบันทึกการประชุมกลุ่มย่อย บันทึกการสัมมนา แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกข้อมูลจากการศึกษาสภาพจริงในโรงเรียน แบบบันทึกเนื้อหาจากการศึกษาเอกสารและรายงานผลการดาเนินการวิจัยของโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง
ช่วงเวลาการทดลอง
-
การวิเคราะข้อมูล

5. ผลการวิจัย
1. สภาพเดิมของการดาเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน
1.1 โรงเรียนดำเนินการแบบแยกส่วนไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารและการทำงานตามปกติเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น
1.2 โรงเรียนมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน (Missed Concept) เกี่ยวกับจุดประสงค์หลักของระบบประกันคุณภาพ คือ ให้ความสำคัญกับการประเมินภายนอกมากกว่าการดำเนินการพัฒนาคุณภาพตามระบบประกันคุณภาพภายใน เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
1.3 วิธีดำเนินการตามมาตรฐานของโรงเรียนคือ กำหนดครูผู้รับผิดชอบตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้จนครบทุกตัว เพื่อรวบรวม จัดหา จัดทำเอกสารหลักฐานให้ครบตามตัวมาตรฐานและตัวบ่งชี้ ที่ต้องการ เพื่อรองรับการประเมินภายนอก ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ได้เป็นการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามระบบประกันคุณภาพภายใน เพื่อเข้าสู่มาตรฐานแต่อย่างใด
1.4 ผลจากการประเมินภายนอกขาดการเชื่อมโยงในการนาไปใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดผลในทางปฏิบัติจริง
1.5 โรงเรียนขาดการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างแผนงานโครงการและกิจกรรม กับมาตรฐานและตัวบ่งชี้ของมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมาตรฐานเพื่อการประเมินภายนอก เป็นแผนที่ขาดความสอดคล้องภายใน โครงการและกิจกรรมไม่ได้เกิดจากข้อมูลสารสนเทศที่สะท้อนปัญหาโดยแท้จริง แต่ทำโครงการตามจำนวนตัวชี้วัด เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับการประเมินภายนอก ทำให้โครงการ
มีเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จได้และไม่ส่งผลต่อคุณภาพ ของผู้เรียนโดยตรง
โดยสรุป โรงเรียนดำเนินการประกันคุณภาพภายในไม่สอดคล้องกับหลักการประกันคุณภาพ
คือ ไม่ได้มีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ การพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน แต่เป็นการจัดเตรียมเอกสารเพื่อรองรับการประเมินภายนอก การประกันคุณภาพภายในไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการและการทำงานของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา แต่เป็นการแยกส่วนมาจากการดำเนินงานตามปกติของสถานศึกษา และการประกันคุณภาพภายในเป็นหน้าที่ของครูบางกลุ่ม ไม่ได้เป็นของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง

2. รูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้
เป็นรูปแบบการประยุกต์วิธีการประกันคุณภาพภายในไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5 ด้าน คือ 1) ด้านคุณภาพผู้เรียน เน้นความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ การสื่อสารโดยใช้ภาษาไทย การมีความรู้ตามสาระในหลักสูตร 2) ด้านการจัดการศึกษา เน้นการจัด
การเรียนการสอนของครูโดยใช้มาตรฐานและตัวชี้วัดในหลักสูตรเป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนการสอน ส่วนการบริหารจะเน้นการพัฒนาครูจากการปฏิบัติงานจริงเป็นหลัก ใช้ระบบพี่เลี้ยง ทั้งภายในโรงเรียนและพี่เลี้ยงจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 3) ด้านอัตลักษณ์ เน้นอัตลักษณ์ที่จะเกิดกับผู้เรียนตามมาตรฐานสถานศึกษาและวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา 4) ด้านมาตรการส่งเสริมเน้นส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน และ 5) ด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ และการสร้างความร่วมมือของเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วยเขตพื้นที่การศึกษา กลุ่มโรงเรียนและชุมชน โดยสรุปแล้วเป็นรูปแบบที่มีจุดเน้นสาคัญสองประการคือ การพัฒนาที่มุ่งเน้นคุณภาพที่จะเกิดกับผู้เรียนเป็นหลัก และการประเมินที่เน้นผลผลิตและผลลัพธ์ การขับเคลื่อนระบบใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพแบบต่อเนื่อง 4 ขั้นตอน (PDCA) คือ 1) การจัดทาแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยวิเคราะห์ความสอดคล้องของแผน กับมาตรฐานและตัวบ่งชี้ กำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาร่วมกับเครือข่ายของโรงเรียน 2) การใช้แผนเป็นเครื่องมือการบริหาร ดาเนินการพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน การพัฒนาความสามารถของครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง โดยใช้ระบบพี่เลี้ยงในโรงเรียนและพี่เลี้ยงจากโรงเรียนเครือข่ายและเขตพื้นที่การศึกษา
3) ประเมินผลโครงการเทียบผลกับมาตรฐาน และมีเขตพื้นที่ เครือข่ายร่วมวิเคราะห์ผล และวิธีการพัฒนา ร่วมเสนอแนะ แนวทางเพื่อปรับปรุง พัฒนาวิธีการดาเนินโครงการเพื่อยกระดับ ผลการดาเนินงานให้สูงขึ้น 4) การประเมินที่ผลผลิตและผลลัพธ์เทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน รวมถึง ผลด้านอื่น ๆ เช่น ผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียน ผลการทดสอบ NT, O-NET ขั้นนี้จะได้ข้อมูลสารสนเทศ

6. การใช้ประโยชน์
1. จากผลการวิจัยที่ค้น พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเป้าหมายหลักของการประกันคุณภาพการศึกษา และค้นพบว่าการมีเครือข่ายและมีพี่เลี้ยงจะช่วยให้การดาเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาประสบความสำเร็จได้ ดังนั้น สานักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ควรผ่อนคลายบทบาทการเป็นผู้ควบคุมระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน เปลี่ยนบทบาทเป็นหุ้นส่วนทางกลยุทธ์ (Strategic Partner) และเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) ของโรงเรียน
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรดำเนินการในเชิงรุกเกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน การพัฒนาระบบพี่เลี้ยงระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับโรงเรียน
การสร้างความเข้าใจร่วมกัน การกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาร่วมกันระหว่างสานักงานเขตพื้นที่การศึกษากับโรงเรียน
3. ควรจัดให้มีการสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ประเมินภายนอก กับโรงเรียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในเรื่องจุดเน้นการประเมิน การพิจารณาตัวบ่งชี้บางตัวและเกณฑ์การพิจารณาที่อยู่นอกเหนือการควบคุมหรือเกินความสามารถของโรงเรียนที่จะดาเนินการได้ การพิจารณาสภาพจริงก่อนสรุปผลการประเมิน สร้างความเข้าใจและยอมรับในความแตกต่าง ทางวัฒนธรรม ข้อจำกัดของโรงเรียนเนื่องจากผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบและข้อจากัด ด้านความพร้อมพื้นฐานอื่น ๆ


7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ
ทุนอุดหนุนวิจัยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883