[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้

เจ้าของผลงาน
นางอรณี ใจแน่น


ชื่อนวัตกรรม
นวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านออกเสียงสะกดคำภาษาอังกฤษ BKS - Phonics Model สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
         innovation | ไฟล์นวัตกรรม 1 | ไฟล์นวัตกรรม 2 | แชร์  เข้าชม 1063
ประเภทนวัตกรรม การเรียนการสอน
ปีที่พัฒนา 2564
ชื่อผู้พัฒนา นางอรณี ใจแน่น
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านโคกศรี   สังกัด   สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
การที่จะให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารหรือออกเสียงได้ถูกต้องใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาและป้องกันไม่ให้ผู้เรียนออกเสียงผิดจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างพื้นฐานและปลูกฝังลักษณะนิสัยในการอ่านออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา (จีรนันท์ เมฆวงษ์. 2547) ซึ่งวิธีการจัดการเรียนรู้ หรือเทคนิคที่นิยมใช้กันในปัจจุบันคือ การอ่านออกเสียงสะกดคำ (Phonics) ที่เป็นหลักการถอดรหัสเสียงและการผสมเสียงตัวอักษร โดยผู้เรียนจะต้องเข้าใจเสียงของตัวอักษรต่างๆ และออกเสียงเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องจึงจะสามารถผสมเสียงออกมาเป็นคำได้
ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้จัดทำจึงได้ออกแบบและพัฒนานวัตกรรม BKS - Phonics Model สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาขึ้นเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงคำได้อย่างถูกต้องและชัดเจน และยังช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของคำที่ผู้เรียนออกเสียง ตลอดจนการจดจำเสียงของพยัญชนะ สระ ต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการนำนวัตกรรม BKS - Phonics Model มาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาอังกฤษจะส่งผลต่อผู้เรียนโดยตรง ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะการอ่านออกเสียง การจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ และที่สำคัญที่สุดผู้เรียนจะต้องสามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการติดต่อ สื่อสาร และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาองค์ความรู้ต่อไปในอนาคต
วัตถุประสงค์เฉพาะ
1. เพื่อสร้างและพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาอังกฤษ BKS-Phonics Model
2. เพื่อนำนวัตกรรมการสอนภาษาอังกฤษ BKS-Phonics Model มาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้
3. เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้าน
โคกศรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาสินธุ์ เขต 2

กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ โดยใช้นวัตกรรม BKS - Phonics Model สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา มีการดำเนินการแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้
ระยะที่1 สร้างและพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาอังกฤษ BKS - Phonics Model
ศึกษาความเป็นมาและสภาพปัญหา (P : Plan)
ผู้จัดทำได้ดำเนินการศึกษาความเป็นมาและสภาพปัญหาของกระบวนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะเรื่องทักษะการอ่านออกเสียง ที่เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับผู้เรียนในระดับประถมศึกษาจะต้องมีพื้นฐานเพื่อที่จะนำไปปรับใช้ในระดับที่สูงขึ้น จนทำให้ทราบถึงความเป็นมาและสภาพปัญหา ส่งผลให้ครูผู้สอนได้คิดค้นนวัตกรรมเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา จนนำมาสู่การดำเนินการในครั้งนี้
จากนั้นครูผู้สอนได้ศึกษาเอกสาร ตำรา เกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรม เพื่อถอดบทเรียนในการนำองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมมาใช้ในการออกแบบนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่พบจึงนำไปสู่การสร้างและพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาอังกฤษ BKS - Phonics Model
การออกแบบนวัตกรรมและจัดทำนวัตกรรม (D : Do)
หลังจากการศึกษาความเป็นมาและสภาพปัญหาของกระบวนการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ และได้ศึกษาเอกสาร ตำรา เกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรม เพื่อถอดบทเรียนในการนำองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมมาใช้ในการออกแบบนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่ขึ้น จึงได้สร้างและพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาอังกฤษ BKS - Phonics Modelเมื่อออกแบบนวัตกรรมเรียบร้อย ครูผู้สอนจึงได้ลงมือจัดทำนวัตกรรมการสอนภาษาอังกฤษ BKS - Phonics Model ขึ้นจนสำเร็จพร้อมที่จะนำไปใช้กับผู้เรียน

ระยะที่2 นำนวัตกรรมการสอนภาษาอังกฤษ BKS - Phonics Model มาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้าน
โคกศรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาสินธุ์ เขต 2
การนำนวัตกรรมไปทดลองใช้กับผู้เรียน (R : Reinforce)
หลังจากสร้างและพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาอังกฤษ BKS - Phonics Model ขึ้นจนสำเร็จ ผู้จัดทำจึงนำนวัตกรรมที่ได้ไปทดลองใช้กับผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 เพื่อเป็นการการเสริมสร้าง สนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ และอยากจะเรียนรู้ผ่านสื่อหรือนวัตกรรมที่มีความแปลกใหม่ที่ครูผู้สอนได้สร้างขึ้น
ตรวจสอบติดตามหลังการทดลองใช้นวัตกรรม (C : Check)
การนำนวัตกรรมไปทดลองใช้กับผู้เรียนเพื่อเป็นการการเสริมสร้าง สนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดความสนใจแล้ว ผู้จัดทำได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ถึงข้อดี-ข้อเสีย และสิ่งที่ต้องปรับปรุงเมื่อนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปใช้จริง หลังจากทดลองใช้ครูผู้สอนจึงนำผลจากการทดลองใช้นวัตกรรมไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นในลำดับ
ปรับปรุงแก้ไข นำนวัตกรรมไปสู่ห้องเรียนและประเมินผล (A : Action)
หลังจากการปรับปรุงแก้ไข นำนวัตกรรมไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 -6 พร้อมวิเคราะห์การใช้นวัตกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคลว่ามีความสอดคล้อง ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากน้อยเพียงใด โดยการวัดและประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบระหว่างผลการทดสอบก่อนใช้นวัตกรรมและหลังการใช้นวัตกรรม เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนจัดกระบวนการจัดการเรียนการสอนในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษ ด้านทักษะการอ่านออกเสียงให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
การแลกเปลี่ยนและการเผยแพร่ผลงาน (S : Share)
เมื่อผู้จัดทำดำเนินการสร้างและพัฒนานวัตกรรมครบถ้วนสมบูรณ์ตามขั้นตอนต่างๆ จึงนำนวัตกรรมเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ แพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อให้ครูผู้สอน หรือผู้ที่มีความสนใจทั่วประเทศสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนได้


สื่อและแหล่งเรียนรู้
1. โมเดล นวัตกรรม BKS - Phonics Model เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ
2. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษตามรูปแบบ Phonics ประกอบการใช้นวัตกรรม BKS - Phonics Model
3. แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียง รายวิชาภาษาอังกฤษ
4. สื่อเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษตามรูปแบบ Phonics ประกอบการใช้นวัตกรรม BKS - Phonics Model


การวัดและประเมินผล
1. แบบทดสอบก่อน/หลัง ใช้นวัตกรรม
2. ตรวจแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษตามรูปแบบ Phonics
3. ทดสอบปฏิบัติ การอ่านออกเสียงสะกดคำ ตามรูปแบบ Phonics
บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
1. ส่งเสริม สนับสนุน การสร้างและพัฒนาสื่อ นวัตกรรม
2. นิเทศ ให้คำแนะนำในการพัฒนางานให้มีคุณภาพสูงขึ้น
3. เผยแพร่ผลงานที่เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติที่ดี
ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
ควรดำเนินกิจกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแผนการสอนและใช้ชุดแบบฝึกทักษะฯ ประกอบการใช้นวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียน


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883