[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
รุ่งอรุณ คีรีสัตยกุล. (2552). สร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องรักและรักษ์สิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
 
  บทคัดย่อ | ทฤษฎี | ครื่องมือวิจัย | นวัตกรรม | เข้าชม 2,108 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนภูคาวิทยาคม ที่ไดเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่อง รักและรักษ์สิ่งแวดล้อม สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกวากอนเรียน และนักเรียนมีเจคติที่ดีตอการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง รักและรักษ์สิ่งแวดล้อมดีขึ้น
2. วัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง รักและรักษ์สิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง รักและรักษ์สิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง รักและรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนภูคาวิทยาคม อำเภอปัว จังหวัดน่าน

3. สมมติฐานการวิจัย
1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง รักและรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) หลังใช้หนังสือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง รักและรักษ์สิ่งแวดล้อม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนภูคาวิทยาคม มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
1) ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนภูคาวิทยาคม อำเภอปัว จังหวัดน่าน ปีการศึกษา 2552 ซึ่งทำการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 38 คน เพื่อเป็นกลุ่มทดลอง

เครื่องมือที่ใช้
2.1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง รักและรักษ์สิ่งแวดล้อม (ระบบนิเวศ )
2.2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง รักและรักษ์สิ่งแวดล้อม (ระบบนิเวศ)
2.3) แบบประเมินเจตคติต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง รักและรักษ์สิ่งแวดล้อม

ช่วงเวลาการทดลอง
ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย คือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โดยทำการสอนกลุ่มทดลอง ในเนื้อหา รักและรักษ์สิ่งแวดล้อม (ระบบนิเวศ) ในสาระวิทยาศาสตร์ สาระที่ 2 ใช้เวลาสอนรวมทั้งสิ้น 20 ชั่วโมง
การวิเคราะข้อมูล
หา ค่า E1/E2 ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น และสถิติการทดสอบค่าที (t-test แบบ One –sample)
5. ผลการวิจัย
ประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กับกลุ่มประชากร จำนวน 38 คน พบว่า มีประสิทธิภาพ 85.72/85.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีเจตคติต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่อง รักและรักษ์สิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

6. การใช้ประโยชน์
1) จัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง รักและรักษ์สิ่งแวดล้อม สาระที่ 2 สามารถนำมาใช้สอนและสามารถทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น
2.) เพื่อเป็นแนวทางพื้นฐานในการพัฒนาและออกแบบการเรียนการสอนด้วยบทเรียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับผู้เรียนในโอกาสต่อไป
3) ประยุกต์ใช้สื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์กับการสอนในวิชาวิทยาศาสตร์ในสาขาอื่นหรือในรายวิชาอื่นต่อไป


7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ


 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883