[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
นายพลกฤต หัสสะโร. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2010 โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
 
  เข้าชม 2,051 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2010 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 หรือไม่ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2010 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2010 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับใด
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2010 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2010 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2010 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

3. สมมติฐานการวิจัย
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2010 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2010 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2010 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก

4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557
โรงเรียนบ้านไร่พรุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 จำนวน 25 คน

เครื่องมือที่ใช้
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2010 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
2. แบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ เรื่อง การสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2010 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2010 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
4. แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2010 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ช่วงเวลาการทดลอง
ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาคือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ตั้งแต่วันที่ 3 เดือน พฤศจิกายน 2557 ถึง วันที่ 16 เดือน กุมภาพันธ์ 2558 จำนวน 20 ชั่วโมง รวมการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
การวิเคราะข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยประกอบด้วย สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเปรียบเทียบใช้ทดสอบ (t-test) สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ การหาค่าความตรงตามสูตรของ IOC ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจการจำแนก และค่าความเที่ยงตรงของแบบทดสอบ (KR - 20) สถิติหาคุณภาพของนวัตกรรม ใช้ E1/E2
5. ผลการวิจัย
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2010 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 85.54/81.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างเอกสาร ด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2010 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2010 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.57,  = 0.61)

6. การใช้ประโยชน์
1. การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2010 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 80.42/81.20 ซึ่งเป็นวิธีการเรียนแบบใหม่สำหรับนักเรียน สมควรอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนจะนำไปใช้ในการเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น
2. ครูผู้สอนสามารถนำไปใช้ซ่อมเสริมให้นักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนหรือไม่เข้าใจเรื่องนั้นๆ นำไปใช้เป็นบทเรียนช่วยสอนเสริมนอกเวลาเรียน หรือให้นักเรียนที่สนใจได้ศึกษาด้วยตนเอง ตลอดจนส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อทบทวนและฝึกปฏิบัติ
3. นักเรียนมีความสนใจ ตั้งใจ และมีความกระตือรือร้นที่จะเรียน พร้อมที่จะให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี ซึ่งสามารถสังเกตพฤติกรรมจากนักเรียน มีความกระตือรือร้นทุกชั่วโมงที่จะมาเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2010 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จึงทำให้การทดลองครั้งนี้เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ดังนั้นผู้บริหารการศึกษาตลอดจนครูผู้สอนควรสนับสนุนให้มีการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นบทเรียนในการเรียนการสอน เพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดสอนแทนครูที่ลาหรือติดประชุม และเป็นการสร้างวินัยในชั้นเรียนและฝึกนิสัยให้นักเรียนมีความซื่อสัตย์ ตลอดจนส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความรู้ด้วยตนเองนอกเหนือจากการสอนโดยการอธิบาย บรรยายหรือสาธิตของครูเท่านั้น
4. ในขณะที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ครูผู้สอนคอยดูแลเอาใจใส่ให้ความสนใจและให้คำแนะนำ อธิบายวิธีการเรียนและควบคุมดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด ให้การช่วยเหลือนักเรียนเมื่อมีปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์ และบันทึกคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนแต่ละชุดเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
5. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถใช้เป็นบทเรียนในการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อาจมีปัญหาและอุปสรรค เช่น ครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์ต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถและความพยายามในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตบทเรียนการเรียนการสอนควรมีการสนับสนุนร่วมมือกัน เพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้แพร่หลาย
6. ควรมีการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนสำหรับวิชาคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องอื่นๆ และวิชาอื่นๆ ต่อไป โดยเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีอิสระและเกิดความพึงพอใจที่ดีต่อการเรียน


7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ


 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883