[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
นางศิวพร ศุภกมล. (2559). การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL ร่วมกับเทคนิค กลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)
 
  เข้าชม 1,877 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
-
2. วัตถุประสงค์
1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL ร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
E 1 /E 2 = 80/80
2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเทคนิค KWDL ร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)
3) ศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน โดยใช้เทคนิค KWDL
ร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)
4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร ด้วยเทคนิค KWDL ร่วมกันเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)
3. สมมติฐานการวิจัย
-
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 36 คน โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา สำนักงานเขตดอนเมือง ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้
1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร โดยการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL ร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) จำนวน 18 แผ่น 18 ชั่วโมง
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร แบบปรนัย 3 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ และแบบแสดงวิธีทำ จำนวน 4 ข้อ
3) แบบประเมินพฤติกรรมกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)
4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL ร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) แบบมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ จำนวน 10 ข้อ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ช่วงเวลาการทดลอง
ปีการศึกษา 2558
การวิเคราะข้อมูล

5. ผลการวิจัย
1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL ร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) มีประสิทธิภาพ E1/E2 = 84.72/85.74 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2) ผลการเรียนรู้เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL ร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) หลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) พบว่า พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนอยู่ในระดับมาก 2 ข้อ ระดับปานกลาง 2 ข้อ
4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร ด้วยเทคนิค KWDL ร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) โดยรวมในระดับมากที่สุด
6. การใช้ประโยชน์
1) นักเรียนมีความเข้าใจ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร มากขึ้นจากแผนการจัดการเรียนรู้ โดยเทคนิค KWDL ร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)
2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร หลังเรียนการเรียนดีขึ้น
3) นักเรียนได้ฝึกการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
4) นักเรียนมีความสนใจในการเรียน โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร ด้วยเทคนิค KWDL ร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)

7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ
-

 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883