[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
นางสาวกุลธิดา สุวัชระกุลธร. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านผสานเครือข่ายสังคมออนไลน์และการบันทึกการเรียนรู้ ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องไฟฟ้าและแม่เหล็ก1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
 
  เข้าชม 3,362 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
-
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านผสานเครือข่ายสังคมออนไลน์และการบันทึกการเรียนรู้ ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องไฟฟ้าและแม่เหล็ก1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านผสานเครือข่ายสังคมออนไลน์และการบันทึกการเรียนรู้ ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องไฟฟ้าและแม่เหล็ก1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนการเรียน และหลังการเรียน
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านผสานเครือข่ายสังคมออนไลน์และการบันทึกการเรียนรู้ ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องไฟฟ้าและแม่เหล็ก1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการเรียน

3. สมมติฐานการวิจัย
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านผสานเครือข่ายสังคมออนไลน์และการบันทึกการเรียนรู้ ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องไฟฟ้าและแม่เหล็ก1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างสำหรับการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำนวนนักเรียน 41 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากเป็นห้องเรียนที่ผู้วิจัยได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการสอน

เครื่องมือที่ใช้
เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วยเครื่องมือ 4 ชนิด ได้แก่
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านผสานเครือข่ายสังคมออนไลน์และการบันทึกการเรียนรู้ ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องไฟฟ้าและแม่เหล็ก1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 ชุด ดังนี้
1.1 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง กระแสไฟฟ้า
1.2 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้า
1.3 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง พลังงานในวงจรไฟฟ้า
1.4 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การต่อตัวต้านทานและแบตเตอรี่
1.5 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้ากระแสตรงเบื้องต้น
1.6 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง เครื่องวัดไฟฟ้า
2. แผนการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านผสานเครือข่ายสังคมออนไลน์และการบันทึกการเรียนรู้ เรื่องไฟฟ้าและแม่เหล็ก1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 แผน
3. แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง ไฟฟ้าและแม่เหล็ก1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบทดสอบประจำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 6 ชุด ชุดละ 10 ข้อ ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก รวม 60 ข้อ
4. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านผสานเครือข่ายสังคมออนไลน์และการบันทึกการเรียนรู้ ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้าและแม่เหล็ก1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รวม 20 ข้อ

ช่วงเวลาการทดลอง
เดือนมิถุนายน - เดือนกรกฎาคม 2558
การวิเคราะข้อมูล
1. วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์แบบห้องเรียนกลับด้านตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องไฟฟ้าและแม่เหล็ก1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 โดยใช้สูตร E1/E2
2. วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่าง โดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
3. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้การทดสอบค่าที (t-test for dependent)
4. วิเคราะห์ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน จากแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องไฟฟ้าและแม่เหล็ก1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
5. ผลการวิจัย
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. กิจกรรมการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์แบบห้องเรียนกลับด้านตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องไฟฟ้าและแม่เหล็ก1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพ 83.78/81.30 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้

2. นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์แบบห้องเรียนกลับด้านตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องไฟฟ้าและแม่เหล็ก1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์แบบห้องเรียนกลับด้านตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องไฟฟ้าและแม่เหล็ก1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

6. การใช้ประโยชน์
1. ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
1.1 การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ครูผู้สอนจะต้องมีการจัดเตรียมสื่อ/บทเรียนที่ต้องการให้นักเรียนศึกษาไว้ล่วงหน้าอย่างหลากหลายก่อนมอบหมายภาระงานหรือประเด็นปัญหาให้นักเรียนสืบค้นเพิ่มเติม เพื่อให้นักเรียนเกิดความสะดวกในการศึกษาบทเรียนล่วงหน้า
1.2 ขณะจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านในชั้นเรียน ครูจะต้องเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้นักเรียน เพื่อคอยช่วยเหลือ และกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้
1.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรให้นักเรียนปฏิบัติด้วยตนเองให้มากที่สุด และควรส่งเสริมให้นักเรียนกล้าแสดงความคิดเห็นในระหว่างการอภิปรายกลุ่มพร้อมทั้งส่งเสริมให้เห็นคุณค่าของการช่วยเหลือกันในการทำงานกลุ่ม
1.4 ครูผู้สอนจะต้องมีการศึกษาขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านอย่างละเอียด เพื่อให้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง จึงสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ
-

 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883