[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
รัศมี อ่วมน้อย. (2556). การพัฒนาความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมบูรณาการผ่านสื่อชุดอาเซียนหรรษาส่งเสริมการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนและทักษะในศตวรรษที่ 21
 
  เข้าชม 1,827 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
พัฒนาการความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมบูรณาการผ่านสื่อชุดอาเซียนหรรษาจะสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 หรือไม่
2. วัตถุประสงค์
เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมบูรณาการผ่านสื่อชุดอาเซียนหรรษากับเกณฑ์ร้อยละ 75
3. สมมติฐานการวิจัย
พัฒนาการความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมบูรณาการผ่านสื่อชุดอาเซียนหรรษาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
เป็นเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนบ้านวังหันน้ำดึง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ได้มาโดยการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการจับฉลาก จำนวน 14 คน
เครื่องมือที่ใช้
กิจกรรมบูรณาการผ่านสื่อชุดอาเซียนหรรษาและแบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถทางภาษา
ช่วงเวลาการทดลอง
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 60 นาที รวมทั้งสิ้น 10 ครั้ง 10 ชั่วโมง
การวิเคราะข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการใช้สถิติทดสอบแบบกลุ่มเดียวที่ไม่อิสระต่อกัน (One Sample t-test)
5. ผลการวิจัย
พัฒนาการความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยหลังได้รับ การจัดกิจกรรมบูรณาการผ่านสื่อชุดอาเซียนหรรษากับเกณฑ์ร้อยละ 75 พบว่าเด็กปฐมวัยมีคะแนนพัฒนาการความสามารถทางภาษาคิดเป็นร้อยละ 75.00/76.19/76.78/76.78/77.83/78.57/79.16/79.76/80.95/82.14 ตามลำดับ มีคะแนนเฉลี่ยรวมคิดเป็นร้อยละ 78.21 ความสามารถทางภาษาสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

6. การใช้ประโยชน์
1. ได้รูปแบบการสอนกิจกรรมบูรณาการผ่านสื่อชุดอาเซียนหรรษา
2. เด็กปฐมวัยของโรงเรียนบ้านวังหันน้ำดึงได้รับการพัฒนาความสามารถด้านภาษา
3. ครูผู้สอนระดับปฐมวัยได้แนวทางในการพัฒนาความสามารถด้านภาษาโดยใช้กิจกรรมบูรณาการผ่านสื่อชุดอาเซียนหรรษาไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับเด็กปฐมวัยของตนเอง
4. ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย


7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ


 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883