[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
นางสุนิดา เกษกัน. (2555). รายงานการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ประกอบการจัดการเรียนการสอนอาเซียนศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดวนบากน้อย
 
  เข้าชม 2,457 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 หรือไม่ 2. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ประกอบการจัดการเรียนการสอนอาเซียนศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนหรือไม่ 3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ประกอบการจัดการเรียนการสอนอาเซียนศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย อยู่ในระดับใด
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ประกอบการจัดการเรียนการสอนอาเซียนศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดวนบากน้อย ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ประกอบการจัดการเรียนการสอนอาเซียนศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ประกอบการจัดการเรียนการสอนอาเซียนศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

3. สมมติฐานการวิจัย
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ประกอบการจัดการเรียนการสอนอาเซียนศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ประกอบการจัดการเรียนการสอนอาเซียนศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย อยู่ในระดับดี

4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดวนบากน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 1 ห้อง จำนวนนักเรียน 11 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เนื่องจากนักเรียนมีห้องเดียวและผู้วิจัยสอนประจำชั้นอยู่
เครื่องมือที่ใช้
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ประกอบการจัดการเรียนการสอนอาเซียนศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบปรนัย ชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ จำนวน 1 ฉบับ
3. แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ประกอบการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยแบบมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ จำนวน 10 ข้อ

ช่วงเวลาการทดลอง
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555
การวิเคราะข้อมูล
1. หาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

2. สถิติทดสอบt-test (Dependent Samples)
5. ผลการวิจัย
1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ประกอบการจัดการเรียนการสอนอาเซียนศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดวนบากน้อย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.90 /85.45 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดวนบากน้อย ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ประกอบการจัดการเรียนการสอนอาเซียนศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดวนบากน้อย มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ประกอบการจัดการเรียนการสอนอาเซียนศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยรวมอยู่ในระดับมาก

6. การใช้ประโยชน์
) ครูผู้สอนควรนำรูปแบบการสอนและสามารถนำเครื่องมือในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ประกอบการจัดการเรียนการสอนอาเซียนศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้เรียนสูงขึ้น
2) นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในวิชาภาษาไทยและวิชาอื่นๆ
3) ควรให้ผู้เรียนฝึกเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอย่างสม่ำเสมอเพื่อเตรียมผู้เรียนให้พร้อมและคุ้นเคยกับการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน



7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ
-

 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883