[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
นางรัศมี อ่วมน้อย. (2556). การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบ การจัดประสบการณ์การเขียนอย่างสร้างสรรค์
 
  เข้าชม 1,516 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
1. การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเขียนอย่างสร้างสรรค์นั้น ความสามารถด้านการเขียนของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วยความสามารถใดบ้าง 2. การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ การเขียนอย่างสร้างสรรค์ มีขั้นตอนและแนวทางในการจัดประสบการณ์เป็นอย่างไร . 3. การศึกษาความสามารถในการสื่อสารของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ การเขียนอย่างสร้างสรรค์จะมีผลการทดลองเป็นอย่างไร 4. การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ การเขียนอย่างสร้างสรรค์จะมีผลการประเมินเป็นอย่างไร 4.1 ความสามารถในสื่อสารของเด็กปฐมวัยหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ การเขียนอย่างสร้างสรรค์แล้วมีความสามารถในการสื่อสารระดับใด 4.1 ความสามารถในสื่อสารของเด็กปฐมวัยหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ การเขียนอย่างสร้างสรรค์แล้วมีความสามารถในการสื่อสารเป็นอย่างไร
2. วัตถุประสงค์
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเขียนอย่างสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาความสามารถ ในการสื่อสารของเด็กปฐมวัย และรูปแบบการจัดประสบการณ์การเขียนอย่างสร้างสรรค์
2. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเขียนอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
3. เพื่อศึกษาความสามารถในการสื่อสารของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ การเขียนอย่างสร้างสรรค์
4. เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเขียนอย่างสร้างสรรค์พัฒนาความสามารถในการสื่อสารของเด็กปฐมวัย ดังนี้
4.1 เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการสื่อสารของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเขียนอย่างสร้างสรรค์
4.2 เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ การเขียนอย่างสร้างสรรค์กับเกณฑ์ร้อยละ 75
3. สมมติฐานการวิจัย

4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนบ้านวังหันน้ำดึง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ได้มาโดยการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการจับฉลาก จำนวน 14 คน
เครื่องมือที่ใช้
1. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ รูปแบบการจัดประสบการณ์การเขียนอย่างสร้างสรรค์
2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบทดสอบวัดความสามารถในการสื่อสาร

ช่วงเวลาการทดลอง
การศึกษาครั้งนี้ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ระยะเวลา ในการทดลอง 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 60 นาที จำนวน 20 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 20 ชั่วโมง
การวิเคราะข้อมูล
1. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( .) และทดสอบสมมติฐานด้วยการใช้สถิติทดสอบแบบกลุ่มเดียวที่ไม่อิสระต่อกัน (One Sample t-test)
2. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
5. ผลการวิจัย
1. ความสามารถในการสื่อสารของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเขียน อย่างสร้างสรรค์อยู่ในระดับดี
2. ความสามารถในการสื่อสารของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเขียน อย่างสร้างสรรค์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

6. การใช้ประโยชน์
1. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาปฐมวัยสามารถนำผลการศึกษาที่ได้ไปกำหนดแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาความสามารถในการสื่อสารของเด็กปฐมวัยได้
2. ควรมีการศึกษาการจัดประสบการณ์ในรูปแบบอื่น ๆ ที่จะพัฒนาความสามารถ ในการสื่อสาร เช่น การละเล่นพื้นบ้าน การเล่นบทบาทสมมติ
3. ควรมีการศึกษาผลของการจัดการจัดประสบการณ์การเชียนอย่างสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาด้านสังคม ด้านคุณธรรมของเด็กปฐมวัย หรือพัฒนาทางด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย


7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ
ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอในงานวิจัยดีมีคุณภาพระดับประเทศ

 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883