[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
สุรินธร วังคะฮาด และคณะ. (2553). กระบวนการสร้างชุดการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถการคิดเชิงเหตุผลสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3
 
  บทคัดย่อ | ทฤษฎี | ครื่องมือวิจัย | นวัตกรรม | เข้าชม 2,031 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
-
2. วัตถุประสงค์
1) เพื่อการสร้างความรู้ ความเข้าใจ เรื่องความสามารถการคิดเชิงเหตุผลและการสร้างชุดการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียน
2) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างและผลการใช้ชุดการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียน
3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียนก่อนการเรียนกับหลังการเรียนโดยใช้ชุดการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถการคิดเชิงเหตุผลของโครงการ

3. สมมติฐานการวิจัย
-
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยาที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-5 (ช่วงอายุระหว่าง 11-16 ปี) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 356 คน ได้จากการคำนวณตามวิธีของ ยามาเน่ (Taro Yamane) แล้วเลือกแบบเจาะจงให้ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างข้างต้นจากนักเรียนที่ผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัยทำการสอนตามปกติ
เครื่องมือที่ใช้
2.1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพพหุวิธีการ ได้แก่ การเก็บรวบรวมภาคสนามด้วยแบบบันทึกภาคสนาม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง การบันทึกภาพ และการศึกษาวิเคราะห์เอกสาร
2.2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ชุดการสอนวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีค่าอำนาจจำแนก 0.20-0.40 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบอิงเกณฑ์โดยใช้สูตรลิวิงสตัน มีค่าเท่ากับ 0.99 ค่าความยากงาย ระหว่าง 0.26-0.79 จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ที่มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.32-0.76 และวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 และชุดกิจกรรมทดสอบความสามารถการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียนของ Robert Karplus (1977) แปลและตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ

ช่วงเวลาการทดลอง
เดือน กรกฎาคม 2553 ถึงเดือน กรกฎาคม 2554
การวิเคราะข้อมูล
4.1) การวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ร่วมวิจัย ผู้มีส่วนร่วม โดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ
4.2) การวิเคราะห์สภาพปัจจุบันความสามารถการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษา โดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ
4.3) ผู้ศึกษานำข้อมูลจากการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพซึ่งได้แก่ ความคิดเห็นของผู้ร่วมศึกษามาตรวจสอบความเที่ยงตรงของข้อมูลโดยใช้เทคนิคการตรวจสอบแบบสามเส้า มาวิเคราะห์เพื่อประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่ามีปัญหา อุปสรรคหรือไม่ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการพิจารณาวิธีการที่จะแก้ปัญหา และปรับปรุงในกระบวนการดำเนินงานระหว่างที่ทำการศึกษา และวิเคราะห์ ตีความ สร้างข้อสรุปเพื่อรายงานผลการศึกษาในลักษณะการบรรยาย และเขียนรายงานเชิงพรรณนา
4.4) การวิเคราะห์ข้อมูลของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยผู้ศึกษากำหนดเป้าหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคือ นักเรียนต้องมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 60 และ กำหนดจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์เป้าหมายร้อยละ 80 แล้วจึงนำคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ร้อยละ
4.5) วิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาศึกษา โดยสูตร E.I.
4.6) วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ที่มีต่อเรียนการเรียนรู้ โดยใช้ชุดการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถการคิดเชิงเหตุผล กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

5. ผลการวิจัย
1) กระบวนการวิจัยแบบร่วมมือทำให้ผู้วิจัยสามารถพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ และการสร้าง ชุดการสอนที่สามารถพัฒนาความสามารการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาได้ โดยนวัตกรรมการเรียนรู้ที่มีชื่อว่า กิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (CDSC MODEL) ที่ประกอบด้วย 4 ระยะการเรียนรู้สำคัญคือ 1) ขั้นนำและกระตุ้นบทเรียน (Comprehensive Allegory Phase) = C 2) ขั้นสมมติฐานการคิดแบบนิรนัย (Hypothetical Deductive Thinking Phase) = D 3) ขั้นบูรณาการคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง (Sufficiency Phase) = S 4) ขั้นประเมินผลและลงข้อสรุป (Meaningful Assessment and Conclusion Phase) = C ที่มีประสิทธิภาพเท่ากับ 72.45 /71.77 ซึ่ง สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และมีความก้าวหน้าทางพัฒนาการการเรียนรู้เท่ากับ 0.5128 หรือคิด เป็นร้อยละ 51.28 โดยกระบวนการวิจัยแบบร่วมมือเพื่อสร้างชุดการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความสามารถการคิดเชิงเหตุผลสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาอภิปรายผลการวิจัยได้ว่า กระบวนการวิจัยแบบร่วมมือสามารถทำให้การสร้างชุดการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียนนั้นบรรลุเป้าหมายได้
2) ประสิทธิภาพของชุดการสอนเพื่อการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุเป้าหมายโดยเปรียบเทียบผลการทำกิจกรรมและทำแบบทดสอบในชุดการสอนกับเกณฑ์ ในระดับ 70/70 มีค่าคะแนนระหว่างการทำกิจกรรม (E1) และคะแนนหลังการทำกิจกรรม (E2) เท่ากับ 72.45/71.77 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แม้ว่าผลการสังเกตจะพบว่าช่วงแรกของการจัดกิจกรรมนักเรียนไม่คุ้นเคยและบอกผู้วิจัยว่าไม่สามารถทำได้
3) ผลการดำเนินงานโดยภาพรวมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถ การคิดเชิงเหตุผลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการความสามารถการคิด เชิงเหตุผลที่เป็นนามธรรมตามลำดับขั้นพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของเพียเจต์ สูงขึ้นร้อยละ 86.72

6. การใช้ประโยชน์
1) ได้ชุดการสอนในวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความสามารถการคิดเชิงเหตุผล สำหรับนักเรียนช่วง อายุ 11-16 ปี ที่มีประสิทธิภาพ
2) คณะครูมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิด และการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัย
3) การขยายผลการศึกษาและการพัฒนาต่อยอดเพื่อพัฒนาความสามารถการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียนช่วง อายุ 11-16 ปี


7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883