[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
ประกอบศรี สิงหาศรี. (2555). การพัฒนาชุดการเรียนการรู้วิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง เสื่อใบเตยป่า สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโคกสว่าง อำเภอสำโรง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4
 
  เข้าชม 1,477 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
1) การพัฒนาชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง เสื่อใบเตยป่า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานจะต้องพัฒนาอย่างไร 2) การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ท้องถิ่น โดยใช้ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง เสื่อใบเตยป่า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้น จะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างไร
2. วัตถุประสงค์
1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง เสื่อใบเตยป่า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ท้องถิ่น โดยใช้ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง เสื่อใบเตยป่า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์
3. สมมติฐานการวิจัย
-
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านโคกสว่าง อำเภอสำโรง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 จำนวน 19 คน
เครื่องมือที่ใช้
1) ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง เสื่อใบเตยป่า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
4) แบบประเมินพฤติกรรมด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์
ช่วงเวลาการทดลอง
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
การวิเคราะข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Wilcoxon Signed Ranks Test
5. ผลการวิจัย
1) ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง เสื่อใบเตยป่า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 85.10/86.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2) ผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง เสื่อใบเตยป่า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่านักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
3) นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก และนักเรียนมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก
6. การใช้ประโยชน์
สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอน และผู้เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนา
การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เสื่อใบเตยป่า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ


 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883