[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
กาญจนา จิตรสำรวย. (2555). การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
 
  เข้าชม 1,572 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
1) รูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ควรพัฒนาไปในรูปแบบใด อย่างไร 2) ความพึงพอใจของครู ที่มีต่อรูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 เป็นอย่างไร
2. วัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
3. สมมติฐานการวิจัย
-
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
ครูผู้สอน จำนวน 90 จากโรงเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ โดยการเลือกแบบเจาะจงครูที่มีความสนใจด้านการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์
เครื่องมือที่ใช้
แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต และประเด็นสนทนากลุ่ม
ช่วงเวลาการทดลอง
ปีการศึกษา 2554
การวิเคราะข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า Wincoxson Signal Ranks Test ค่า t-test แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
5. ผลการวิจัย
1) ได้รูปแบบการนิเทศ 6S’s Kanjana Supervisory Model ที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย
ขั้นที่ 1 เลือกวิธีการพัฒนาครู (Scan) จัดอบรมครูโดยการให้ความรู้ให้ตัวอย่าง สาธิตการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การวางแผนการเขียน การจัดทำโครงสร้างหนังสือ จัดทำรายละเอียด จัดทำต้นฉบับเรื่อง และต้นฉบับภาพ
ขั้นที่ 2 ออกแบบนวัตกรรม (Set Inovation) ผู้นิเทศเขียนคู่มือการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ 1 เล่ม ตัวอย่างหนังสือเสริมประสบการณ์ 1 ชุด 9 เล่ม และเขียนคู่มือการนิเทศ 1 เล่ม
ขั้นที่ 3 วางแผนการนิเทศ (Set the Plan) วางแผนการนิเทศให้ครูสามารถจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ขั้นที่ 4 จัดระบบในการนิเทศ (System ) ปฏิบัติการนิเทศตามเทคนิคการนิเทศที่สังเคราะห์มาจากหลาย ๆ เทคนิคผนวกกับประสบการณ์ในการนิเทศของผู้วิจัย มาเป็นรูปแบบการนิเทศ
แบบ 6S’s Kanjana Supervisory Model
ขั้นที่ 5 ประเมินผลการนิเทศ (Summative) ประเมินผลสำเร็จของครูผู้รับการนิเทศ โดยประเมินจากหนังสือเสริมประสบการณ์ แผนการจัดการเรียนรู้ และรายงานผลการใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ในการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียน อยู่ในระดับดีมาก
ขั้นที่ 6 นำเสนอผลงานเลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share and Cheer) ครูผู้รับการนิเทศนำผลงานมาจัดนิทรรศการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเติมเต็มและพัฒนางานของตนเองอย่างต่อเนื่อง
2) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 อยู่ในระดับมาก
6. การใช้ประโยชน์
นำไปเป็นแนวทางการพัฒนารูปแบบการนิเทศ ในการการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์
ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูสามารถพัฒนาหนังสือเสริมประสบการณ์ได้เป็นชุดและครู นำไปใช้ในการพัฒนานักเรียนพัฒนานักเรียนให้สามารถเขียนหนังสือเล่มเล็กได้

7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ


 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883