[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้


นางรันดร ปากอุตสาห์


ชื่อนวัตกรรม
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมี เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5
         innovation | แชร์  เข้าชม 6332
ประเภทนวัตกรรม การเรียนการสอน
ปีที่พัฒนา 2557
ชื่อผู้พัฒนา นางรันดร ปากอุตสาห์
หน่วยงาน โรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร   สังกัด   สพม.อุดรธานี
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
1. แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
2. แนวคิดการจัดกิจกรรมบูรณาการ
3. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี

วัตถุประสงค์เฉพาะ
1. เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาเคมีเพิ่มเติม รหัสวิชา ว32223
หน่วยการเรียนรู้ อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาเคมีเพิ่มเติม
รหัสวิชา ว32223 หน่วยการเรียนรู้ อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียน
โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาเคมีเพิ่มเติม รหัสวิชา ว32223 หน่วยการเรียนรู้ อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียน
ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาเคมีเพิ่มเติม รหัสวิชา ว32223 หน่วยการเรียนรู้ อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
ขั้นที่ 1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ขั้นที่ 2 การวางแผนการจัดกิจกรรม
ขั้นที่ 3 ดำเนินการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ขั้นที่ 4 การหาประสิทธิภาพและการนำนวัตกรรมไปใช้

สื่อและแหล่งเรียนรู้
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 9 ชุด ดังนี้
1. ชุดที่ 1 เรื่อง การเกิดปฏิกิริยาเคมี
2. ชุดที่ 2 เรื่อง การหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
3. ชุดที่ 3 เรื่อง แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี
4. ชุดที่ 4 เรื่อง พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยาเคมี
5. ชุดที่ 5 เรื่อง กลไกการเกิดปฏิกิริยาเคมี
6. ชุดที่ 6 เรื่อง ความเข้มข้นของสารกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
7. ชุดที่ 7 เรื่อง พื้นที่ผิวของสารกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
8. ชุดที่ 8 เรื่อง อุณหภูมิกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
9. ชุดที่ 9 เรื่อง ตัวเร่งปฏิกิริยาและตัวหน่วงปฏิกิริยากับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

การวัดและประเมินผล
1.1 การสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน
1.1.1 สังเกตความสนใจและความตั้งใจในการศึกษาบทเรียน
1.1.2 สังเกตจากความร่วมมือและการปฏิบัติกิจกรรม
1.1.3 การอภิปราย การสรุปอย่างมีเหตุผล
1.1.4 ความรับผิดชอบต่อตนเอง
1.2 ตรวจผลงาน
1.2.1 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
1.2.2 แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน
1.2.3 แบบสังเกตพฤติกรรม

บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
1. บทบาทของครู
1.1 ครูต้องศึกษาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โครงสร้างรายวิชาและแผนการจัดการเรียนรู้
อย่างละเอียด เพื่อความเข้าใจ สามารถแนะนำเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง
ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนประสบผลสำเร็จ
1.2 ครูผู้สอนต้องใช้แผนการจัดการเรียนรู้ควบคู่ไปกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่กำหนดไว้
1.3 ครูต้องเตรียมชุดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครบตามจำนวนนักเรียน เพื่อนักเรียนทุกคน
จะได้ปฏิบัติกิจกรรมในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างครบถ้วน
1.4 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นสื่อที่นักเรียนได้ศึกษาด้วยตนเอง โดยครูคอยชี้แนะกำกับดูแลนักเรียนในขณะปฏิบัติกิจกรรมในชุดกิจกรรมการเรียนรู้และครูควรชี้แจงให้นักเรียนทราบบทบาทของตนเองในการเรียนให้ชัดเจน
1.5 การนำเข้าสู่บทเรียน ครูควรอธิบายเนื้อหาพอสังเขป เพื่อเตรียมความพร้อม
ให้นักเรียนมีความสนใจและเข้าใจเนื้อหาในชุดกิจกรรมการเรียนรู้
1.6 อธิบายหลักเกณฑ์และวิธีการศึกษาเนื้อหาในบทเรียนให้นักเรียนฟังก่อน
เพื่อให้นักเรียนเข้าใจถึงวิธีการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างถูกต้อง ควรปฏิบัติตามขั้นตอน
อย่างเคร่งครัดและเน้นถึงความซื่อสัตย์
1.7 เมื่อครูอธิบายเงื่อนไขหรือวิธีการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนเข้าใจแล้วแจกชุดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติกิจกรรม
1.8 การปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอน ให้ดำเนินการตามแนวการสอนเป็นขั้นตอน
ในแผนการจัดการเรียนรู้
1.9 ในขณะที่นักเรียนกำลังศึกษาเนื้อหาหรือปฏิบัติกิจกรรม ครูต้องคอยดูแล
และให้ความช่วยเหลือแนะนำในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆอย่างใกล้ชิด เพื่อนักเรียน
จะได้ขอคำปรึกษาหารือได้ทันที
1.10 ครูต้องคอยสังเกตพฤติกรรมเป็นรายบุคคลตามแบบประเมินพฤติกรรมเพื่อบันทึกการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียนไว้เป็นข้อมูลในการประเมินผลการเรียน
1.11 เมื่อศึกษาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละเล่มแล้ว ครูต้องช่วยเหลือนักเรียน
ในการสรุปเนื้อหาและอภิปรายร่วมกัน แล้วให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนและสลับกันตรวจแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อประเมินผลการเรียนว่ามีความรู้ความเข้าใจเพียงใด
1.12 ผลการประเมินของนักเรียนแต่ละคน ควรจัดเก็บไว้ในแฟ้มสะสมผลงาน
หรือแฟ้มข้อมูลนักเรียน
2. บทบาทของนักเรียน
2.1 อ่านมาตรฐานการเรียนรู้ สาระสำคัญ และจุดประสงค์การเรียนรู้ นักเรียนจะทราบว่าเมื่อเรียนจบแล้วนักเรียนสามารถทำอะไรได้บ้าง
2.2 ตอบแบบทดสอบก่อนเรียนตามความเข้าใจของนักเรียนด้วยตนเองแม้จะผิดบ้าง
ก็ไม่เป็นไร ถ้านักเรียนศึกษาเนื้อหาและทำกิจกรรมตามชุดกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนจะตอบ
ได้อย่างถูกต้องในภายหลัง
2.3 ศึกษาเนื้อหาแต่ละเรื่องให้เข้าใจ เมื่อสงสัยให้ซักถามครู
2.4 เมื่อศึกษาเนื้อหาและทำกิจกรรมครบถ้วน ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจของนักเรียนอีกครั้งหนึ่ง

ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
การใช้ชุดนวัตกรรมควรเน้นย้ำให้นักเรียนปฏิบัติตามคำชี้แจงอย่างเคร่งครัดไม่ควรเปิดดูเฉลยก่อน


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883