[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
นางสุดาพร พินิจมนตรี. (2553). รูปแบบการพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1.ทุนอุดหนุนวิจัยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1.
 
  บทคัดย่อ | ทฤษฎี | ครื่องมือวิจัย | นวัตกรรม | เข้าชม 6,869 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
-
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
2. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
2.1 เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านการเขียนภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
2.2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
3. สมมติฐานการวิจัย
-
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
1. ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
2. หาความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม และแบบทดสอบ
3. การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมิน
4. วิเคราะห์ผลการทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านการเขียนภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยสถิติทดสอบที (t-test : Dependent Sample)

เครื่องมือที่ใช้
1) คู่มือครู
2) แบบทดสอบความสามารถด้านการอ่านการเขียนภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
3) แบบประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนา
ช่วงเวลาการทดลอง
เวลาที่ใช้ในการวิจัย ใช้เวลาในการทดลองใช้รูปแบบ จำนวน 12 คาบ ๆ ละ 60 นาที แบ่งเป็นการทดสอบก่อนเรียน 1 คาบ ทดลองสอน 10 คาบ ทดสอบหลังเรียน 1 คาบ โดยมีกำหนดสอนในคาบเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
การวิเคราะข้อมูล

5. ผลการวิจัย
1. องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนา ประกอบด้วย 1) หลักการและเหตุผล 2) แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ 3) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 4) โครงสร้างของรูปแบบซึ่งประกอบด้วย 4.1) การนำเข้าสู่บทเรียนโดยเพลง 4.2) กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยครูอธิบายความรู้ใหม่ นักเรียนเรียนรู้โดยเกมและสรุปความรู้เป็นแผนที่ความคิด 4.3) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้โดยให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะและแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านการเขียนภาษาไทยในการประเมินผลก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนา และหลังการใช้รูปแบบการพัฒนา
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนา พบว่าความสามารถด้านการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
6. การใช้ประโยชน์
1. ได้รูปแบบการพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 มีความสามารถในการอ่านการเขียนภาษาไทยสูงขึ้น
3. ครูผู้สอนมีความพึงพอใจรูปแบบการพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทย

7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ
-

 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883