[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้


นางอรนุช มั่งมีสุขศิริ


ชื่อนวัตกรรม
แนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและการจัดการศึกษาของโรงเรียนประจำพักนอนในพื้นที่สูงห่างไกลให้มีสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ในโรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้
         innovation | ไฟล์นวัตกรรม 1 | ไฟล์นวัตกรรม 2 | แชร์  เข้าชม 57
ประเภทนวัตกรรม การบริหารจัดการ
ปีที่พัฒนา 2565
ชื่อผู้พัฒนา นางอรนุช มั่งมีสุขศิริ
หน่วยงาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   สังกัด   สพฐ.
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดนโยบายทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
“วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ โดยใช้พื้นที่เป็นฐานใช้นวัตกรรรมในการขับเคลื่อน” ให้โรงเรียนทุกโรงเรียนในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนำไปใช้ในการพัฒนาการศึกษา นโยบายทางการศึกษา 4 ด้าน ได้แก่
1. ด้านความปลอดภัย การพัฒนาสถานศึกษาและสภาพแวดล้อมให้เป็นที่ปลอดภัย
2. ด้านโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
3. ด้านคุณภาพของผู้เรียน ครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา
4. ประสิทธิภาพการบริหาร
ซึ่งนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้อย่างสอดคล้องกับเป้าหมายของแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ที่มีเป้าหมายการพัฒนาการศึกษา 2 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการจัดการศึกษา (Aspirations) (2) ด้านการพัฒนาผู้เรียน (Learner Aspirations)
การปฏิรูปโรงเรียนประจำพักนอนในพื้นที่สูงห่างไกลให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และการพัฒนาผู้เรียน
ให้มีสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาได้ใช้แนวคิดการปฏิรูปโรงเรียน
เป็นโรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community)จากนวัตกรรมของการปฏิรูปโรงเรียนสู่ศตวรรษที่ 21 ของศาสตราจารย์มานาบุ ซาโต ที่ได้ศึกษาค้นคว้าแนวคิดทฤษฎีและการปฏิบัติจริง โดยนำไปใช้ในการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนในประเทศญี่ปุ่นตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community: SLC) เกิดจากการหลอมรวมประสบการณ์ของการปฏิรูปโรงเรียนต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการปฏิรูปชั้นเรียน และการปฏิรูปโรงเรียนในปัจจุบัน ซึ่งแนวทางโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ได้รับการยอมรับว่าเป็น “แนวทางสำคัญที่น่าเชื่อถือที่สุดสำหรับ
การปฏิรูปโรงเรียน” และได้รับการยอมรับจนเผยแพร่ในหลายประเทศ เช่น จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย รวมทั้งประเทศไทยด้วย การปฏิรูปโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย
1) แนวคิดของการปฏิรูปสู่โรงเรียนในรูปแบบศตวรรษที่ 21
2) ปรัชญากับวิสัยทัศน์ของชุมชนแห่งการเรียนรู้
3) ระบบกิจกรรมของชุมชนแห่งการเรียนรู้ การเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลัง การสร้างความเป็นเพื่อนร่วมงานของครู การเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันผู้ปกครองและความร่วมมือกับคณะกรรมการการศึกษา และชุมชน
4) การสร้างเครือข่าย (Network) ทั้งในและต่างประเทศ พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้บรรลุขีดความสามารถ มีสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่สนองตอบและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็นพลวัตในบริบทพื้นที่สูงทุรกันดารห่างไกล


วัตถุประสงค์เฉพาะ
1. เพื่อผู้บริหารโรงเรียนประจำพักนอนพื้นที่สูงห่างไกลจัดองค์ประกอบปัจจัยขับเคลื่อนนโยบาย
สพฐ. ตามบริบทพื้นที่สูง ห่างไกล เป็นฐาน
2. เพื่อผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในโรงเรียนประจำพักนอนในพื้นที่สูง ห่างไกล จัดการศึกษาแบบร่วมมือ ตามปรัชญา วิสัยทัศน์ และระบบกิจกรรมของโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
3. เพื่อผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในโรงเรียนประจำพักนอนในพื้นที่สูง ห่างไกล พัฒนาคุณภาพ
ผู้เรียนให้มีทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต และทักษะวิชาการสู่สมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ด้วยระบบกิจกรรมของโรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้

กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
แนวทางการยกระดับคุณภาพของนักเรียนของโรงเรียนประจำพักนอนในพื้นที่สูงห่างไกล ให้มีสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ และโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ มีแนวทางการนำไปใช้ ดังนี้
1. กำหนดปรัชญากับวิสัยทัศน์ของโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้
2. การจัดองค์ประกอบปัจจัยพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและการจัดการศึกษาของโรงเรียนประจำพักนอน
บนพื้นที่สูงห่างไกลให้เป็นโรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้
3. การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนให้เป็นพลเมืองรุ่นใหม่ และการจัดการศึกษาของโรงเรียนประจำพักนอน
ให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ในพื้นที่สูงห่างไกล
4. การประเมินผลสำเร็จของการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนให้เป็นพลเมืองรุ่นใหม่และการจัดการศึกษา
ของโรงเรียนประจำพักนอนบนพื้นที่สูงห่างไกลให้เป็นโรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้

สื่อและแหล่งเรียนรู้
แนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและการจัดการศึกษาของโรงเรียนประจำพักนอนในพื้นที่สูงห่างไกล
ให้มีสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ในโรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้
การวัดและประเมินผล
แบบสำรวจ การจัดองค์ประกอบปัจจัยการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและการจัดการศึกษาของโรงเรียนประจำ
พักนอนในเขตพื้นที่สูงทุรกันดารห่างไกล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
ผู้บริหารและครู มีบทบาทในการส่งเสริม สนับสนุน ให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาพัฒนาวิชาชีพ
สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ส่งเสริมให้ครูมั่นใจในความสามารถจัดการศึกษา พัฒนาตนเอง
ให้มีคุณวุฒิ มีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี มีขวัญกำลังใจ มีจิตวิญญาณ มีความสามัคคี มีความ
เสียสละ อุทิศเวลาให้กับนักเรียนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนพื้นที่สูงห่างไกลร่วมกัน มีคุณธรรม
มีความประพฤติดี บุคลิกภาพเหมาะสมเป็นแบบอย่างกับนักเรียน มีความคาดหวังในตัวนักเรียนว่าจะเป็นพลเมืองที่ทำประโยชน์ให้กับชุมชนท้องถิ่น ผู้บริหาร ครูกับผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ที่ดี มีความเข้าใจ
ในเป้าหมายของโรงเรียนประจำพักนอน มีการนิเทศ กำกับและติดตามการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
แบบกัลยาณมิตร ผู้บริหารเป็นบุคคลหลักที่ สร้างเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ส่งเสริมกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ไปสู่ชุมชน ช่วยให้สมาชิกชุมชนร่วมกันพัฒนาโรงเรียน ชุมชนและสังคม จนเป็นที่ยอมรับของ
คนในชุมชนบนพื้นที่สูงห่างไกล
ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
-


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883