[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
วีระศักดิ์ คำล้าน. (2553). การปฏิบัติการพัฒนาใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน จัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการสอนบูรณาการช่วงชั้น ของโรงเรียนบ้านหนองตาปู่ อำเภอวารินชำราบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4
 
  บทคัดย่อ | ทฤษฎี | ครื่องมือวิจัย | เข้าชม 1,479 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
-
2. วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่นำแหล่งเรียนรู้ในชุมชนมาใช้ในการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการช่วงชั้น
3. สมมติฐานการวิจัย
-
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนบ้านหนองตาปู่ อำเภอวารินชำราบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 จำนวน 17 คน

เครื่องมือที่ใช้
1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 9 แผน มีเนื้อหาดังนี้
1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การจำแนกสาร
2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร
3) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การแยกสารเนื้อผสม
4) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การแยกสารเนื้อเดียว
5) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง การละลาย
6) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง การเกิดสารใหม่
7) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง สารปรุงแต่งรสและสีอาหาร
8) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 8 เรื่อง สารทำความสะอาด
9) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 9 เรื่อง สารกำจัดแมลงและศัตรูพืช
2. แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3. แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานแบบประเมินเป็นรูปแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ได้กำหนดคะแนน เป็น 4 ระดับ
4. แบบประเมินพฤติกรรมด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์แบบประเมินเป็นรูปแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ได้กำหนดคะแนน เป็น 4 ระดับ
5. แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน
6. แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู
7. แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน
8. แบบบันทึกประจำวันของผู้วิจัย และผู้ร่วมวิจัย

ช่วงเวลาการทดลอง
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
การวิเคราะข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการแจกแจงข้อค้นพบในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงปริมาณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียนด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test
5. ผลการวิจัย
1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าค่าเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจในการเรียนวิทยาศาสตร์โดยการใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าเฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน
2) ด้านทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 มีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 8 ทักษะ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.21,  = 0.44)
3) ด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์พบว่า เจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 มีคะแนนโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.21,  = 0.14)

6. การใช้ประโยชน์
1) เป็นแนวทางในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ สำหรับพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ
2) ครู นักเรียน และชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการศึกษา
3) นักเรียนได้เรียนรู้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนของตนเอง โดยใช้หลักกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
4) ครูได้แผนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหาการเรียนรู้ในแต่ละชั้นเรียน
5) นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตาปู่มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สูงขึ้น


7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ
ทุนอุดหนุนวิจัยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883