[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
นายณัฐวุฒิ ใจแน่น. (2564). การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมการสอนพุทธประวัติแสนง่ายผ่านTimeline ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code) เรื่องพุทธประวัติ
 
  บทคัดย่อ | ทฤษฎี | ครื่องมือวิจัย | นวัตกรรม | เข้าชม 705 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
1. การใช้นวัตกรรมการสอนพุทธประวัติแสนง่ายผ่านTimeline ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code) เรื่องพุทธประวัติ ชั้นประถมศึกษาปีที่5 มาเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ เป็นอย่างไร 2. ผลการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมการสอนพุทธประวัติแสนง่ายผ่าน Timeline ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code) สามารถพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องพุทธประวัติ ชั้นประถมศึกษาปีที่5 ได้หรือไม่ อย่างไร
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ โดยใช้นวัตกรรมการสอนพุทธประวัติแสนง่ายผ่านTimeline ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code) เรื่องพุทธประวัติ
2. เพื่อศึกษาผลของการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมการสอนพุทธประวัติแสนง่ายผ่านTimeline ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code) เรื่องพุทธประวัติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 โรงเรียนหนองอิเฒ่าวิทยา ปีการศึกษา 2564

3. สมมติฐานการวิจัย
1. ได้แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในปัจจุบัน และตอบสนองความต้องการของผู้เรียน
2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องพุทธประวัติ ที่สูงขึ้น

4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 โรงเรียนหนองอิเฒ่าวิทยา ปีการศึกษา2564 จำนวน 10 คน
เครื่องมือที่ใช้
1. แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 3 แผน 3 ชั่วโมง เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมการสอนพุทธประวัติแสนง่ายผ่านTimeline ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code) เรื่องพุทธประวัติ
2. นวัตกรรมการสอนพุทธประวัติแสนง่ายผ่านTimeline ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code) เรื่องพุทธประวัติ
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
2.1 แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่องพุทธประวัติ เพื่อวิเคราะห์ผู้เรียน
2.2 ใบกิจกรรมที่ 1 เรื่องการวิเคราะห์พุทธประวัติ
2.3 ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่องการเรียงลำดับเหตุการณ์ในพุทธประวัติ
2.4 ใบกิจกรรมที่ 3 เรื่องพุทธประวัติแสนง่ายผ่าน Timeline
2.5 แบบทดสอบหลังเรียน เรื่องพุทธประวัติ เพื่อวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้

ช่วงเวลาการทดลอง
16 พ.ค.2564 - 10 ต.ค.2564
การวิเคราะข้อมูล
วิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) สำหรับบันทึกหลังแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) รวบรวม และแยกแยะข้อมูล รวมทั้งตีความหมายจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน ใบกิจกรรมที่1-3 และแบบทดสอบหลังเรียน

5. ผลการวิจัย
ผลการวิจัย พบว่า หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมการสอนพุทธประวัติแสนง่ายผ่าน Timeline ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code) เรื่องพุทธประวัติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 โรงเรียนหนองอิเฒ่าวิทยา ปีการศึกษา 2564 ผู้วิจัยพบว่า การใช้ใช้นวัตกรรมการสอนพุทธประวัติแสนง่ายผ่าน Timeline ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก ส่วนด้านความรู้ความเข้าใจพบว่าหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และวัดประเมินผลผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับที่ดีมาก สามารถตอบคำถามได้ถูกต้องร้อยละ 90
6. การใช้ประโยชน์
1.ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้เรื่องพุทธประวัติสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา
2.ใช้ในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องพุทธประวัติให้สูงขึ้น

7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ


 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883