[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by
_SCRIPT _VERSION
Home
Research
Innovation
วิธีนำเสนอผลงาน
สมัครสมาชิก
คู่มือการใช้
ผู้ดูแลระบบ
ชื่องานวิจัย
วีระพงศ์ เดชบุญ. (2552). สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
บทคัดย่อ
|
ทฤษฎี
|
ครื่องมือวิจัย
|
เข้าชม 1,824
| แชร์
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
1) สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ควรเป็นอย่างไร 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 แตกต่างกันอย่างไร
2. วัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการ
สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
3. สมมติฐานการวิจัย
-
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
1) ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
1.1) ประชากรได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 36 คน ผู้แทนรองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 36 คน ผู้แทนครูที่เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 36 คน ผู้แทนผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 36 คน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 36 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำนวน 36 แห่งรวมทั้งสิ้น 180 คน
1.2) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา 28 คน ผู้แทนรองผู้อำนวยการสถานศึกษา 28 คน ผู้แทนครูที่เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 28 คน ผู้แทนผู้ปกครองนักเรียน 28 คน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษา 28 คน รวมทั้งสิ้น 140 คน
เครื่องมือที่ใช้
2) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น เรื่อง สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ที่สร้างขึ้นจากการศึกษาวิเคราะห์สังเคราะห์เอกสาร ประกอบด้วยข้อคำถาม 3 ตอน
ตอนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา 11 ด้าน
ตอนที่ 3 เป็นคำถามปลายเปิด สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา
ช่วงเวลาการทดลอง
-
การวิเคราะข้อมูล
-
4) การวิเคราะห์ข้อมูล
4.1) ค่าร้อยละ สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของผู้ตอบแบบสอบถาม จากแบบสอบถาม ตอนที่ 1
4.2) ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม จากแบบสอบถาม ตอนที่ 2
4.3) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีสถานภาพแตกต่างกันโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)
4.4) ค่าความถี่ สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลสมรรถนะเพิ่มเติมของผู้ตอบแบบสอบถามจากแบบสอบถามปลายเปิด
5. ผลการวิจัย
1) โดยภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ควรมีสมรรถนะที่พึงประสงค์ทั้ง 11 ด้านในระดับมาก เมื่อพิจารณาสมรรถนะที่พึงประสงค์เป็นรายด้านพบว่า สมรรถนะที่ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าควรมีในระดับมากที่สุด คือ ด้านคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา รองลงมาคือสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ส่วนสมรรถนะที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าด้านอื่นๆ คือ สมรรถนะด้านการวิจัยทางการศึกษา
2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา พบว่า โดยภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามที่มีสถานภาพแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีสถานภาพแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาด้านการบริหารกิจการนักเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
6. การใช้ประโยชน์
1) ได้โครงสร้างสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา อันจะนำไปสู่การสร้างทฤษฎีด้านสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา
2) ความรู้ที่ได้รับจากการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษาในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรการผลิตผู้บริหารสถานศึกษาให้ผู้สำเร็จการศึกษามีสมรรถนะที่พึงประสงค์
3) ความรู้ที่ได้รับจากการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่มีหน้าที่ใช้และพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาสมรรถนะที่พึงประสงค์ให้กับผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา
4) ผลการวิจัยจะเป็นแนวทางในการสร้างเกณฑ์การประเมินสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา
5) ผลการวิจัยจะเป็นแนวทางในการคัดเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา
9. ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1) จากการศึกษาจะเห็นได้ว่าสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ทั้ง 11 ด้าน จำนวน 52 ตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากขึ้นไป (=3.51) ทุกข้อ นั่นหมายถึง สามารถนำสมรรถนะดังกล่าวไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการประเมินผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) ควรส่งเสริมให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา บริหารงานโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม
เนื่องจากผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับสมรรถนะด้านนี้ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การส่งเสริมสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
3) สิ่งสำคัญของผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาเกี่ยวกับสมรรถนะด้านการ
บริหารงานบุคคล คือ ต้องสามารถสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ครูและบุคลากรในสถานศึกษาและสามารถให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาการทำงานให้แก่ครูและบุคลากรในสถานศึกษา เนื่องจากผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อสมรรถนะข้อนี้ในระดับมากที่สุด
4) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีสถานภาพแตกต่างกันต่อ
สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา พบว่า มีความคิดเห็นโดยรวมไม่แตกต่างกัน ดังนั้น การประเมินผู้บริหารสถานศึกษาอาจจะให้ผู้ประเมินมีสถานภาพเช่นเดียวกันกับกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้
5) นอกจากตัวชี้วัดสมรรถนะของผู้อำนวยการสถานศึกษาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สมรรถนะ
เพิ่มเติมที่ได้จากแบบสอบถามตอนที่ 3 ก็มีความน่าสนใจในการนำไปกำหนดแนวทางการพัฒนาผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาเพื่อให้มีสมรรถนะที่พึงประสงค์ อาทิ สมรรถนะด้านการวิจัยทางการศึกษาอาจเพิ่มเติมตัวชี้วัดสามารถส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของครูและนำผลการวิจัยมาใช้ในการบริหารงาน สมรรถนะด้านการบริหารงานบุคคล อาจเพิ่มเติมตัวชี้วัดมีความรู้ในการจัดบุคลากรให้เหมาะสมกับตำแหน่ง/งาน สมรรถนะด้านการบริหารงานธุรการ การเงิน และพัสดุ อาจเพิ่มเติมตัวชี้วัดมีความซื่อสัตย์ โปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นต้น
6) ผลจากการศึกษาจะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษา และ
หน่วยงานที่มีหน้าที่ใช้และพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรการผลิตผู้บริหารสถานศึกษาให้ผู้สำเร็จการศึกษามีสมรรถนะที่พึงประสงค์
7) สามารถใช้ผลการวิจัยเป็นแนวทางในการสร้างเกณฑ์การประเมินสมรรถนะที่พึงประสงค์
ของผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา และเป็นแนวทางในการคัดเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา
7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ
ทุนอุดหนุนวิจัยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883