[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by
_SCRIPT _VERSION
Home
Research
Innovation
วิธีนำเสนอผลงาน
สมัครสมาชิก
คู่มือการใช้
ผู้ดูแลระบบ
ชื่องานวิจัย
นางสาวกุลธิดา สุวัชระกุลธร. (2560). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานเชื่อมโยงกับแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง ของไหล เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
เข้าชม 892
| แชร์
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน เรื่อง ของไหล เมื่อเรียนรู้จากกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานเชื่อมโยงกับแนวคิดสะเต็มศึกษาเป็นอย่างไร
2. วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เมื่อเรียนรู้จากกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานเชื่อมโยงกับแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง ของไหล
3. สมมติฐานการวิจัย
-
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ที่เรียนรายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม4
รหัสวิชา ว30204 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 42 คน ประกอบด้วยนักเรียนชาย 11 คน นักเรียนหญิง 31 คน โดยคละความสามารถ ซึ่งเป็นห้องที่ผู้วิจัยได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการเรียนรู้
เครื่องมือที่ใช้
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีทั้งหมด 3 เครื่องมือ ได้แก่ 1) บันทึกหลังการสอนของครู
2) ใบกิจกรรม และ 3) แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนตามสภาพจริง
ซึ่งแต่ละเครื่องมือก็มีรายละเอียดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. บันทึกหลังสอนของครู เป็นบันทึกของผู้วิจัยในการบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นขณะที่จัดการเรียนรู้ โดยจดบันทึกสิ่งที่ได้จากการสังเกตอย่างละเอียดตามความเป็นจริง มีลักษณะเป็นแบบบันทึกกึ่งโครงสร้าง ซึ่งมีหัวข้อในการบันทึก คือ 1) พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน 2) ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ 3) การสรุปเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
4) ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 5) ข้อมูลอื่น ๆบันทึกหลังการสอนนี้ ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการจัดการเรียนการสอน และปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้
2. ใบกิจกรรมของนักเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินความสามารถใน การแก้ปัญหาของนักเรียนซึ่งนักเรียนเป็นผู้บันทึกผลการทำกิจกรรมลในระหว่างทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานเชื่อมโยงกับแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง ของไหล ในแต่ละเรื่องย่อย โดยนักเรียนต้องกำหนดปัญหาจากสิ่งที่สงสัยหรือสิ่งที่อยากรู้จากสถานการณ์ กำหนดตัวแปรที่ศึกษา ออกแบบการทดลอง อภิปรายผลการทดลอง สรุปผลการทดลอง และนำเสนอผลการศึกษาในการหาคำตอบในสิ่งที่สงสัยหรืออยากรู้ โดยใบกิจกรรมนี้้ผู้วิจัยเป็นผู้เตรียมให้นักเรียนแต่ละกลุ่มในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละเรื่องย่อย
3. แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนตามสภาพจริง เรื่อง ของไหล ที่ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานเชื่อมโยงกับแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง ของไหล มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน เรื่อง ของไหล เมื่อใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานเชื่อมโยงกับแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง ของไหล ซึ่งขอบเขตของการประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนทั้งหมด 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านกำหนดปัญหา 2) ด้านทำความเข้าใจปัญหา 3) ด้านวางแผนศึกษา 4) ด้านสังเคราะห์ความรู้ 5) ด้านสรุปผล และ 6) ด้านนำเสนอ โดยแบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนตามสภาพจริงนี้ ผู้วิจัยเป็นผู้สร้างขึ้น และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้องและความ เหมาะสมของแบบประเมิน โดยถือเกณฑ์ร้อยละ 60 เป็นเกณฑ์ โดยแบบประเมิน ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนตามสภาพจริงนี้แบ่งคะแนนออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ 0, 1, 2, 3, และ 4 คะแนน
ช่วงเวลาการทดลอง
ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ระหว่างเดือนพฤษภาคม เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นเวลาทั้งหมด 30 คาบ โดยทำการสอนเป็นเวลา 4 คาบต่อสัปดาห์ คาบละ 50 นาที
การวิเคราะข้อมูล
สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วัตถุประสงค์ และการวิเคราะห์ข้อมูล คือ
ใบกิจกรรมของนักเรียนแต่ละกลุ่ม ผู้วิจัยใช้แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนตามสภาพจริงที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แปลความหมายด้านความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนออกมาเป็นคะแนน 5 ระดับ ได้แก่ 0, 1, 2, 3 และ 4 คะแนน ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยในการแปรผลเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน ข้อมูลความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนผู้วิจัย แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ดังนี้
1. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนเป็นรายกลุ่ม พิจารณาจากคะแนน ความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมของนักเรียนแต่ละกลุ่ม โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
คะแนนเฉลี่ยรวมตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป มีความสามารถในการแก้ปัญหาระดับสูง
คะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 50 69 มีความสามารถในการแก้ปัญหาระดับปานกลาง
คะแนนเฉลี่ยรวมต่ำกว่าร้อยละ 50 มีความสามารถในการแก้ปัญหาระดับต่ำ
2. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนในแต่ละเรื่องย่อย พิจารณาจากคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมของนักเรียนทั้งห้องเป็นรายเรื่องย่อย โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
คะแนนเฉลี่ยรวมตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป มีความสามารถในการแก้ปัญหาระดับสูง
คะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 50 69 มีความสามารถในการแก้ปัญหาระดับปานกลาง
คะแนนเฉลี่ยรวมต่ำกว่าร้อยละ 50 มีความสามารถในการแก้ปัญหาระดับต่ำ
3. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนเป็นรายด้าน โดยพิจารณาจากคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมของนักเรียนทั้งห้องเป็นรายด้าน ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านระบุปัญหา 2) ด้านทำความเข้าใจปัญหา 3) ด้านวางแผนศึกษา 4) ด้านสังเคราะห์ความรู้
5) ด้านสรุปผล และ 6) ด้านนำเสนอ โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
คะแนนเฉลี่ยรวมตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป มีความสามารถในการแก้ปัญหาระดับสูง
คะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 50 69 มีความสามารถในการแก้ปัญหาระดับปานกลาง
คะแนนเฉลี่ยรวมต่ำกว่าร้อยละ 50 มีความสามารถในการแก้ปัญหาระดับต่ำ
5. ผลการวิจัย
1. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนเป็นรายกลุ่ม พิจารณาจากคะแนน ความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมของนักเรียนแต่ละกลุ่ม จากผลคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมของนักเรียนเป็นรายกลุ่ม พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมในระดับปานกลาง โดยนักเรียนกลุ่มที่มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมมากที่สุดอยู่ในระดับปานกลาง คือ 15.33 คะแนน จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน ส่วนนักเรียนกลุ่มที่มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมน้อยที่สุด มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาในระดับต่ำ คือ 13.83 คะแนน จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน จากผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานเชื่อมโยงกับแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง ของไหล ช่วยให้นักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถในการแก้ปัญหาในระดับ
ปานกลาง
2. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนในแต่ละเรื่องย่อย พิจารณาจากคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมของนักเรียนทั้งห้องเป็นรายเรื่องย่อย จากผลคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมของนักเรียนในแต่ละเรื่องย่อย พบว่า นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมมากที่สุด คือ เรื่องพลศาสตร์ของไหล มีคะแนนเฉลี่ยรวม 19.14 คะแนน จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน ส่วนเรื่องที่นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมน้อยที่สุด คือ เรื่องความหนาแน่น มีคะแนนเฉลี่ยรวม 4.86 คะแนน จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน จากผลการศึกษาเมื่อพิจารณาคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาตามลำดับเรื่องย่อยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานเชื่อมโยงกับแนวคิดสะเต็มศึกษา จะเห็นได้ว่า นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเพิ่มขึ้นตามลำดับ แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานเชื่อมโยงกับแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง ของไหล ช่วยให้นักเรียนส่วนใหญ่สามารถพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาได้
3. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนเป็นรายด้าน โดยพิจารณาจากคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมของนักเรียนทั้งห้องเป็นรายด้าน ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านกำหนดปัญหา 2) ด้านทำความเข้าใจปัญหา 3) ด้านดำเนินการศึกษาค้นคว้า 4) ด้านสังเคราะห์ความรู้ 5) ด้านสรุปผล และ 6) ด้านนำเสนอ จากผลคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมของนักเรียนในแต่ละด้าน พบว่า
นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมมากที่สุดในด้านนำเสนอ มีคะแนนเฉลี่ยรวม 17.71 คะแนน จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน ส่วนด้านที่นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมน้อยที่สุด คือ ด้านระบุปัญหา มีคะแนนเฉลี่ยรวม 9.57 คะแนน จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน และจากผลคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยของนักเรียนในแต่ละด้านเมื่อพิจารณาแยกตามเรื่องย่อย สามารถแบ่งผลการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) คะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยของนักเรียนมีค่าเพิ่มขึ้นและลดลง มี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านกำหนดปัญหา ด้านทำความเข้าใจปัญหา ด้านสังเคราะห์ความรู้ และด้านสรุปผล และ 2) คะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยของนักเรียนมีค่าคงที่หรือเพิ่มขึ้น มี 2 ด้าน ได้แก่ ด้านดำเนินการศึกษาค้นคว้า และด้านนำเสนอ
6. การใช้ประโยชน์
นวัตกรรมการศึกษาสำหรับพัฒนาสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เมื่อเรียนรู้จากกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานเชื่อมโยงกับแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง ของไหล
7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ
-
กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883