[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
นางกฤษณา สังข์วะระปรีชา. (2554). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อ การสังเกต การจำแนกและการเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัย
 
  เข้าชม 1,711 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
-
2. วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาความสามารถด้านการสังเกต การจำแนกและการเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
3. สมมติฐานการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีความสามารถด้านการสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนชุมชนบ้านสลกบาตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 จำนวน 10 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้
1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
2. แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการสังเกต การจำแนกและการเปรียบเทียบ
ช่วงเวลาการทดลอง
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 4 วัน วันละ 40 นาที
การวิเคราะข้อมูล
หาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
5. ผลการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีความสามารถด้านการสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
6. การใช้ประโยชน์
1. นำไปใช้จัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีความสามารถด้านการสังเกต การจำแนกและ การเปรียบเทียบสูงขึ้น
2. นำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับครูปฐมวัยและผู้ที่สนใจมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการสังเกต การจำแนกและการเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัย รวมทั้งส่งเสริมทักษะด้านอื่น ๆ ต่อไป

7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ
ทุนส่วนตัว

 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883