[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
นางกฤษณา สังข์วะระปรีชา. (2556). การพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
 
  เข้าชม 1,918 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
-
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยเพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านสลกบาตร สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อศึกษาระดับความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านสลกบาตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
3. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านสลกบาตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์
4. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านสลกบาตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยเพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญา

3. สมมติฐานการวิจัย
1. เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญา มีความสามารถทางพหุปัญญา อยู่ในระดับสูง
2. เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญา มีความสามารถทางพหุปัญญาทั้ง 8 ด้าน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนชุมชน
บ้านสลกบาตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 10 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง

เครื่องมือที่ใช้
1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
2. แบบประเมินความสามารถทางพหุปัญญา
3. แบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัย

ช่วงเวลาการทดลอง
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2556 ถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2556
การวิเคราะข้อมูล
หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานนำไปเทียบกับเกณฑ์ เปรียบเทียบ
ความแตกต่างโดยใช้สถิติ t-test แบบ Dependent และหาค่าร้อยละ

5. ผลการวิจัย
1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยเพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญามีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.78/86.46 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีระดับความสามารถทางพหุปัญญา อยู่ในระดับสูงทุกด้าน
3. เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีความสามารถทางพหุปัญญา หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความคิดเห็นต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบเด็กนักวิจัยเพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญา อยู่ในระดับพอใจ และพอใจมาก
คิดเป็นร้อยละ 100

6. การใช้ประโยชน์
1. นำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวิจัยทำให้เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความสามารถทางพหุปัญญาทั้ง 8 ด้าน สูงขึ้น และเด็กปฐมวัยมีความสามารถทางพหุปัญญาอยู่ในระดับสูงทุกด้าน
2. นำไปใช้ประโยชน์กับครูผู้สอนปฐมวัย ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาระดับปฐมวัย นำแผน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
3. นำไปใช้ประโยชน์ในทางวิชาการ นำไปใช้ประกอบข้อมูลส่วนหนึ่งในการวางแผน
กำหนดนโยบาย กำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของสถานศึกษาในปีการศึกษาต่อไปเพื่อให้สถานศึกษาได้พัฒนาเด็กได้เต็มตามศักยภาพ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542


7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ
ทุนส่วนตัว/วิจัยดีมีคุณภาพ

 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883