[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
ณิชา เทียมสุวรรณ. (2555). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เสื่อใบเตยป่า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
 
  เข้าชม 1,850 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
1) การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เสื่อใบเตยป่า สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ จะต้องทำอย่างไร มีขั้นตอนการพัฒนาอย่างไร 2) ผลของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องเสื่อใบเตยป่า สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ส่งผลต่อผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์ และ ด้านความคิดเห็นของนักเรียน อย่างไร
2. วัตถุประสงค์
1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เสื่อใบเตยป่า สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
2) เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องเสื่อใบเตยป่า สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์ และ ด้านความคิดเห็นของนักเรียน
3. สมมติฐานการวิจัย
-
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา ปีที่ 4-6 ในโรงเรียนบ้านห่องขอน จำนวน 1 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 14 คน
เครื่องมือที่ใช้
แบบทดสอบวัดความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบประเมินพฤติกรรมด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน
ช่วงเวลาการทดลอง
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
การวิเคราะข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ The Wilcox on Matched Pairs Signed – Rank Test
5. ผลการวิจัย
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เสื่อใบเตยป่า สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่า อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมมาก ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนตามรูปแบบฯ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก
6. การใช้ประโยชน์
สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เสื่อใบเตยป่า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6

7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883