[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้


นายณัฐวุฒิ ใจแน่น


ชื่อนวัตกรรม
การการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV) โดยใช้รูปแบบ I – TOUW Model โรงเรียนหนองอิเฒ่าวิทยา
         innovation | ไฟล์นวัตกรรม 1 | แชร์  เข้าชม 5292
ประเภทนวัตกรรม การบริหารจัดการ
ปีที่พัฒนา 2565
ชื่อผู้พัฒนา นายณัฐวุฒิ ใจแน่น
หน่วยงาน โรงเรียนหนองอิเฒ่าวิทยา   สังกัด   สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
รูปแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV) มาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น รวมถึงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอนหรือครูไม่ตรงรายวิชาเอก
วัตถุประสงค์เฉพาะ
1. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมโดยใช้ I–TOUW Model ในการขับเคลื่อน
2. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนหนองอิเฒ่าวิทยา
3. เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ให้เป็นสถานศึกษาต้นแบบที่มี
วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)

กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) โดยใช้รูปแบบ I–TOUW Model ของโรงเรียนหนองอิเฒ่าวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยมีรายละเอียดและแนวทางในการขับเคลื่อน ดังนี้
I : (Innovation) นวัตกรรมการสอนที่สอดคล้องกับบริบท เนื่องด้วยในปัจจุบันที่มีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้น ทำให้การจัดกระบวนการเรียนการสอนมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ และรวมไปถึงการปรับรูปแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV) แบบเดิมที่เป็นการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ On-Air เป็นหลัก ปรับเปลี่ยนให้มีรูปแบบที่มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนทุกกลุ่ม และตอบสนองต่อสถานการณ์การจัดการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน ผู้จัดทำจึงได้สร้างและพัฒนานวัตกรรม (Innovation) สำหรับนำมาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนสอดให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียน และชุมชน มากที่สุด เช่น
1. จัดทำสื่อ ใบงาน ออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
1.1 จัดพิมพ์เป็นรูปแบบเอกสาร สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 2 และนักเรียนกลุ่มที่ขาดอุปกรณ์
1.2 สร้างใบงานหรือข้อสอบรูปแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ Live worksheets และ
google form รองรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 และอาจมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้น
1.3 รวบรวมสื่อวีดีทัศน์ประกอบการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงของผู้เรียน ผู้ปกครองผ่านเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR code) และในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book)
T : (Technology) นำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษา ปัจจุบันการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน เป็นการเพิ่มพูนประสิทธิภาพทางการเรียนรู้แก่ผู้เรียน และในสภาพปัจจุบันการเรียนการสอนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ครูผู้สอนจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของตนเอง ยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จึงต้องพัฒนาตนเองโดยเรียนรู้เทคโนโลยีต่าง ๆ แล้ววิเคราะห์ความเป็นไปได้ก่อนนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ให้เหมาะสมกับผู้เรียน และสภาพการของโรงเรียน ผู้จัดทำจึงได้ตระหนักในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษา ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดสำหรับผู้เรียน ได้แก่
1. นำเทคโนโลยีมาใช้ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอน เช่น แบบ On Air แบบ On hand
2. นำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างสื่อ ใบงาน หรือข้อสอบ ที่จะนำไปใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน เช่น สร้างใบงานหรือข้อสอบรูปแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ Live worksheets และ google form หรือการรวบรวมสื่อวีดีทัศน์ประกอบการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงของผู้เรียน ผู้ปกครองผ่านเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR code) และในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book)
O : (O Air – On site – On hand) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ (3O) การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในหลากหลายมิติของคนทั่วโลก ตั้งแต่การทำงาน การรักษาสุขภาพ รวมถึงการจัดการศึกษาซึ่งจะต้องเผชิญกับภาวะของการปรับตัวครั้งใหญ่เกี่ยวกับรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอน ผู้จัดทำจึงได้ออกแบบรูปแบบที่มีความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง มากที่สุด ประกอบด้วย
1. รูปแบบ O Air เป็นรูปแบบที่นิยมมากที่สุดในการนำมาใช้ในการจัดการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV) ของครูผู้สอนปัจจุบัน
2. รูปแบบ On site เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ก่อนการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ครูผู้สอนทุกระดับชั้นใช้ในสภาวะที่ปกติ
3. รูปแบบ On hand เป็นรูปแบบที่ใช้รองรับการจัดการเรียนการสอนในกรณีพื้นที่ตั้งของสถานศึกษาเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ขึ้นจำนวนมาก ครูผู้สอนและผู้เรียนไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ตามปกติ โดยมีการบูรณาการใช้ร่วมกับรูปแบบอื่นๆเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียน สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนมากที่สุด
U : (Unity) ความเป็นหนึ่งเดียวขององค์กร การเป็นหนึ่งเดียว กลมเกลียวสามัคคี รวมถึงการทำงานเป็นทีม เป็นอีกปัจจัยสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งเพื่อยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV) ของโรงเรียนหนองอิเฒ่าวิทยา ให้เป็นสถานศึกษาต้นแบบที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โดยการนำรูปแบบไปปรับใช้จริงตามความเหมาะสมของบริบทแต่ละระดับชั้น ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6
W : (Will) ความมุ่งมั่นตั้งใจ คือสิ่งที่ทำให้เกิดความทุ่มเท จดจ่อ และตั้งใจทำในสิ่งที่ทำอยู่อย่างไม่ลดละ ไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรค ทำให้เรามุ่งมั่นทำงานนั้น จนกว่าจะบรรลุถึงซึ่งเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติประการสำคัญของบุคคลที่ประสบความสำเร็จ ในการดำเนินการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) โดยใช้รูปแบบ I–TOUW Model ในการขับเคลื่อน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนหนองอิเฒ่าวิทยา จะสำเร็จไม่ได้ถ้าขาดองค์ประกอบ W : (Will) ความมุ่งมั่นตั้งใจ ของครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนหนองอิเฒ่าวิทยา ในการร่วมแรงร่วมใจที่จะยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ให้เป็นสถานศึกษาต้นแบบที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- DLTV
- รูปแบบ I – TOUW Model
การวัดและประเมินผล
- ชิ้นงาน ใบงาน ผู้เรียน
- การปฏิบัติงานของครู
บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
- สนับสนุน ส่งเสริม นำสู่การปฏิบัติ
ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
- ปรับใช้ให้เหมาะสมตามบริบทของสถานศึกษา


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883