[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้

เจ้าของผลงาน
นายประสงค์ สกุลซ้ง


ชื่อนวัตกรรม
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ หน่วย ร่างกายของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
         innovation | ไฟล์นวัตกรรม 1 | ไฟล์นวัตกรรม 2 | เว็ปไซด์อ้างอิง| แชร์  เข้าชม 596
ประเภทนวัตกรรม สื่อการเรียนการสอน
ปีที่พัฒนา 2564
ชื่อผู้พัฒนา นายประสงค์ สกุลซ้ง
หน่วยงาน โรงเรียนพินิจราษฎร์บำรุง   สังกัด   สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
- สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด 2019
- หนังสือไร้กระดาษ หรืออิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า “E-book”
- การจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์
วัตถุประสงค์เฉพาะ
1. เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ หน่วย ร่างกายของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ หน่วย ร่างกายของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ หน่วย ร่างกายของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน
4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ หน่วย ร่างกายของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6


กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
1. ศึกษาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มาตรฐานการเรียนรู้ ว 1.2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ร่างกายของเรา
2. ศึกษาเอกสาร ตำรา และงานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์
3. กำหนดเนื้อหาในการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ หน่วย ร่างกายของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละเล่ม
4. สร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ หน่วย ร่างกายของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 เล่ม
5. นำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ ที่สร้างขึ้นพร้อมด้วยแบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตามวิธีของลิเคิร์ท โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
มีความเหมาะสมมากที่สุด ให้ 5 คะแนน
มีความเหมาะสมมาก ให้ 4 คะแนน
มีความเหมาะสมปานกลาง ให้ 3 คะแนน
มีความเหมาะสมน้อย ให้ 2 คะแนน
มีความเหมาะสมน้อยที่สุด ให้ 1 คะแนน
ไปให้ผู้เชี่ยวชาญ พิจารณาความยากง่าย ความถูกต้อง ของเนื้อหา และประเมินคุณภาพความเหมาะสมของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ ทั้ง 6 เล่ม
6. นำผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และนำค่าเฉลี่ยไปเทียบกับเกณฑ์การแปลความหมายของค่าเฉลี่ย ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด. 2553 : 121)
ค่าเฉลี่ย 4.51-5.00 หมายถึง มีความเหมาะสมมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.51-4.50 หมายถึง มีความเหมาะสมมาก ค่าเฉลี่ย 2.51-3.50 หมายถึง มีความเหมาะสมปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.51-2.50 หมายถึง มีความเหมาะสมน้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00-1.50 หมายถึง มีความเหมาะสมน้อยที่สุด
สำหรับเกณฑ์ในการพิจารณาค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ผลปรากฏว่า ผลการประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ ทั้ง 6 เล่ม มีคุณภาพโดยรวม อยู่ในระดับ เหมาะสมมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.90)
7. ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ ตามที่ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะ ในประเด็นภาพประกอบ และการใช้โทนสีให้เหมาะสม และแก้ไขใบกิจกรรมย่อยท้ายเล่ม บางข้อให้มีความยากง่ายเหมาะกับระดับชั้นของนักเรียน จากนั้นนำไปทดลองใช้ (Try Out) เพื่อดูความเหมาะสมในเรื่องของความยาก ง่ายของเนื้อหา การใช้ภาษา และเวลา ดังนี้
การทดลองครั้งที่ 1 แบบ 1 : 1 : 1 ผู้วิจัยได้ทดลองใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนพินิจราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำนวน 3 คน โดยคัดเลือกนักเรียน เก่ง ปานกลาง อ่อน อย่างละ 1 คน เพื่อศึกษาความยาก ง่าย ความเหมาะสมของภาษา เนื้อหา เวลาที่ใช้ และสภาพทั่วไป ผลปรากฏว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.85/77.42 ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80 ปัญหาที่ พบคือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีเนื้อหาค่อนข้างยากสำหรับผู้เรียนที่เรียนอ่อนและเรียน ปานกลาง และเวลาที่กำหนดให้ทำน้อยเกินไป ผู้วิจัยจึงได้นำปัญหาดังกล่าวมาปรับปรุงแก้ไขหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้มีเนื้อหาง่ายขึ้น และกำหนดเวลาในการทำแบบทดสอบเพิ่มขึ้น
การทดลองครั้งที่ 2 แบบกลุ่มเล็ก (Small Group) 3 : 3 : 3 ผู้วิจัยได้ทดลองใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนพินิจราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยคัดเลือกนักเรียน เก่ง ปานกลาง อ่อนกลุ่มละ 3 คน เพื่อหาข้อบกพร่องของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ ผลปรากฏว่า ประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.54/81.48 ถึงเกณฑ์ที่กำหนด และสามารถนำไปใช้กับผู้เรียนกลุ่มใหญ่ เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต่อไปได้ แต่ปัญหาที่พบ คือ เนื้อหาในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บางเล่มมีมากเกินไป ผู้เรียนศึกษาแล้วอาจรู้สึกเบื่อหน่าย สมควรที่จะตัดเนื้อหาบางอย่างที่ไม่จำเป็นออก หรือสรุปเนื้อหาให้น้อยลง ซึ่งผู้วิจัยได้นำข้อมูล ดังกล่าวมาปรับปรุงแก้ไขจนได้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ฉบับที่สมบูรณ์
การทดลองครั้งที่ 3 การทดลองกับกลุ่มใหญ่เป็นขั้นทดลอง เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หลังจากทดลองเป็นรายบุคคลและทดลองกับกลุ่มเล็ก จำนวน 9 คน แล้วนำ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่แก้ไขปรับปรุงจนเป็นฉบับที่สมบูรณ์แล้วไปทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนพินิจราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำนวน 33 คน (ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โดยใช้ชั่วโมงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้) ดำเนินการทดลองเช่นเดียวกับขั้นตอนเป็นรายบุคคล และขั้นทดลองกับกลุ่มเล็กแล้วนำผลการทดลองมาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง 6 เล่ม ผลการทดลอง พบว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ หน่วย ร่างกายของเรา มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.43/81.65 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
8. ปรับปรุงแก้ไขหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ หน่วยร่างกายของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แล้วจัดทำเป็นฉบับสมบูรณ์เพื่อนำไปใช้สอนนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนพินิจราษฎร์บำรุง ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยต่อไป



สื่อและแหล่งเรียนรู้
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ จำนวน 6 เล่ม
เล่มที่ 1 การเจริญเติบโตของมนุษย์
เล่มที่ 2 สารอาหารน่ารู้
เล่มที่ 3 กินอย่างไรให้พอดี
เล่มที่ 4 รู้ไว้ไร้โรค
เล่มที่ 5 ระบบย่อยอาหารทำงานอย่างไร
เล่มที่ 6 ใส่ใจดูแลระบบย่อยอาหาร
การวัดและประเมินผล
ผ่านใบกิจกรรมออนไลน์ ตาม Link
https://shorturl.asia/F6bg5
https://shorturl.asia/doWh3
https://shorturl.asia/23I8K
https://shorturl.asia/zTgxo
https://shorturl.asia/RqkWG
https://shorturl.asia/XnJVO

บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
บทบาทศึกษานิเทศก์
ให้คำแนะนำในการจัดทำสื่อ นิเทศก์ กำกับ ติดตามการใช้สื่อประเภทหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์
บทบาทครู
คอยกระตุ้น ให้คำแนะนำนักเรียนในการใช้สื่อประเภท หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์
บทบาทนักเรียน:
ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
ในการศึกษา ค้นคว้า หรือเรียนรู้จากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ ต้องใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ต


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883