[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้


อุไรวรรณ ภูเจริญ


ชื่อนวัตกรรม
การออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองนักเรียนระดับประถมศึกษา.
         innovation | แชร์  เข้าชม 1263
ประเภทนวัตกรรม หลักสูตร
ปีที่พัฒนา 2553
ชื่อผู้พัฒนา อุไรวรรณ ภูเจริญ
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1.   สังกัด   สพฐ.
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
การออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมอง หมายถึง การนำองค์ความรู้ความเข้าใจเรื่องสมอง และธรรมชาติการเรียนรู้ของสมอง ( Brain Based Learning) มาใช้ในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ทั้งในด้านการวางแผนการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมและกระบวนการอื่นๆ ร่วมกับสื่อเพื่อการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ ความสามารถในการออกแบบจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองตามหลัก Brain Based Learning
วัตถุประสงค์เฉพาะ
เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้สอดคล้องกับการพัฒนาสมอง
กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองนักเรียนระดับประถมศึกษา ดำเนินการใน 4 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน สร้างหลักสูตรโดยวิธีการศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สำรวจเนื้อหาสาระ และกำหนดโครงร่างหลักสูตร
ขั้นตอนที่ 2 การจัดทำร่างหลักสูตรฝึกอบรม เป็นการนำข้อมูลจากการศึกษาวิเคราะห์ในขั้นตอนที่ 1 มาจัดทำโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม ประกอบด้วย 1) เหตุผลและความจำเป็น 2) หลักการ
3) เป้าหมาย 4) วัตถุประสงค์ 5) เนื้อหาสาระ 6) กระบวนการฝึกอบรม 7) กิจกรรมการฝึกอบรม
8) สื่อประกอบการฝึกอบรม 9) การประเมินผลการฝึกอบรม
ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรและหาประสิทธิภาพของหลักสูตร เป็นการนำหลักสูตรฝึกอบรมที่ได้รับการพัฒนาแล้วในขั้นตอนที่ 2 ไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร เป็นการหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองนักเรียนระดับประถมศึกษา ตามเกณฑ์ที่กำหนด แล้วนำไปปรับปรุงแก้ไข ให้มีประสิทธิภาพพร้อมที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
....

การวัดและประเมินผล
แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองตามหลักการ Brain Based Learning เป็นแบบทดสอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบ่งเป็น 5 ด้านคือ ด้านการออกแบบแผนการเรียนรู้ ด้านจัดบรรยากาศในชั้นเรียน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ด้านการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลโดยวัดจากก่อนและหลังทำการทดลอง
บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
บทบาทในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครู เพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองนักเรียนระดับประถมศึกษา.
1. รัฐบาลควรมีนโยบายเผยแพร่หลักการ แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เข้ากับการทำงานของสมอง ให้กว้างขวางเพื่อเตรียมการพัฒนาศักยภาพทางด้านสมองของประชากรไทยนับแต่แรกเกิด
2. หน่วยงานที่เกี่ยวกับกับการจัดการศึกษา และมีหน้าที่กำหนดนโยบายทางการศึกษาควรมีแผนงานเพื่อส่งเสริมสนับสนุนแนวคิด หลักการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมอง ให้ขยายทุกระดับการศึกษา และเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานควรให้การสนับสนุนเชิงนโยบาย
หรือจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมสนับสนุนแนวคิด หลักการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักการสมอง ให้ขยายทุกสาระการเรียนรู้ ทุกระดับชั้น อย่างกว้างขวาง
4 วิทยากรฝึกอบรมควรมีท่าทีที่เป็นมิตร เป็นกันเองกับผู้เข้าอบรม เพื่อสร้างความมั่นใจ และบรรยากาศความปลอดภัยทางอารมณ์ สามารถกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมรู้สึกท้าทายหรือสนุกกับการร่วมกิจกรรม
ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
1. หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับการนำไปใช้พัฒนาครูผู้สอนให้มีความรู้ ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองตามหลัก Brain Based Learning
2. การฝึกอบรมควรเสริมสร้างบรรยากาศการอบรมแบบเปิด ให้ผู้เข้าอบรมได้ใช้ประสาทสัมผัสทุกส่วน ทั้งการดู การฟัง การคิด การปฏิบัติ การเคลื่อนไหวร่างกาย บริหารสมอง
3. สถานที่อบรมควรมีพื้นที่เพียงพอสำหรับผู้เข้ารับการอบรมได้ปฏิบัติกิจกรรมการเคลื่อนไหวได้สะดวก อากาศไม่ร้อน
4. สามารถขยายเวลาเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับการฝึกปฏิบัติ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือประสบการณ์ในการนำไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนให้มากขึ้น
5. ควรมีการศึกษาและพิจารณาตัวแปรอื่นร่วมด้วย เช่น ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ความสามารถทางด้านการคิด พัฒนาการของผู้เรียน หรือเจตคติของผู้เรียน
6. มีการศึกษาติดตามผลการออกแบบจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองในรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ แต่ละระดับชั้น



กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883