[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้


อำนาจ วิชยานุวัต และคณะ


ชื่อนวัตกรรม
การดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้
         innovation | แชร์  เข้าชม 1131
ประเภทนวัตกรรม การบริหารจัดการ
ปีที่พัฒนา 2553
ชื่อผู้พัฒนา อำนาจ วิชยานุวัต และคณะ
หน่วยงาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   สังกัด   สพฐ.
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
พัฒนารูปแบบการดาเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สามารถดาเนินการให้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารและการทางานตามปกติและเกิดผลในทางปฏิบัติจริง ตามกฎกระทรวง ว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 ดังนี้
การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามหมวด 2 ส่วนที่ 1 การศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้อ 14 ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยดาเนินการดังต่อไปนี้
1. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
2. จัดทาแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ของสถานศึกษา
3. จัดระบบบริหารและสารสนเทศ
4. ดาเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
5. จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
6. จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
7. จัดทารายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน
8. จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์เฉพาะ
การประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
1. การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
โรงเรียนเน้นมาตรฐานด้านผู้เรียนเป็นหลัก โดยใช้การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูล จากสภาพปัจจุบัน ทั้งที่เป็นปัญหาหรือต้องการพัฒนาเพื่อให้เกิดความสำเร็จสูงขึ้น สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียนเพื่อสร้างเป็นอัตลักษณ์ของโรงเรียน
2. การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา โรงเรียนคัดเลือกข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็น โดยเฉพาะด้านผู้เรียน วิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างแผนงาน โครงการและกิจกรรม กับมาตรฐานการศึกษา เนื่องจากในโครงการหรือกิจกรรมหนึ่ง ๆ สามารถตอบสนองต่อมาตรฐานและตัวชี้วัดได้หลายตัว วิธีการนี้จะทาให้จานวนโครงการลดลงเป็นไปได้จริงในทางปฏิบัติและพัฒนาได้ตรงเป้าหมาย

3. การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ คัดเลือกข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยใช้วิธีจัดระบบ ตามลักษณะข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ได้แก่ ข้อมูลสารสนเทศพื้นฐาน ของสถานศึกษา ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดทาแผนพัฒนาและเพื่อการประเมินภายใน และการประเมินภายนอกไปในเวลาเดียวกัน
4. การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
ใช้โรงเรียนเป็นฐานการพัฒนา โดยมีกลุ่มเครือข่ายร่วมช่วยเหลือ สนับสนุน ประเด็นสำคัญของขั้นตอนนี้คือ การใช้แผนเป็นเครื่องมือในการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ และกิจกรรมจะต้องประเมิน สรุปผลตามเวลาที่กำหนด และเทียบกับการบรรลุตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ และเทียบผลกับเกณฑ์มาตรฐาน หากไม่บรรลุก็ปรับปรุงวิธีดำเนินการ หรือยุติโครงการและพัฒนาโครงการใหม่ ต่อไป
5. การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
โรงเรียนประเมินผลโครงการเทียบผลกับมาตรฐาน และมีเขตพื้นที่ ครือข่ายร่วมวิเคราะห์ผลและวิธีการพัฒนา ร่วมเสนอแนะ แนวทางเพื่อปรับปรุง พัฒนาวิธีการดาเนินโครงการเพื่อยกระดับผล การดาเนินงานให้สูงขึ้น
6. การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
เน้นการประเมินที่ผลผลิตและผลลัพธ์เทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน รวมถึงผลด้านอื่น ๆ เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการทดสอบ NT, O-NET ขั้นนี้จะได้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อนาไปวิเคราะห์ และจัดทาแผนพัฒนาต่อไป
7. การจัดทำรายงานประเมินคุณภาพภายใน
โรงเรียนใช้วิธีมอบหมายผู้รวบรวมข้อมูลและจัดทำรายงาน โดยครูผู้รับผิดชอบโครงการเป็น
ผู้ประเมินโครงการและรายงานผลตามระยะเวลาที่กำหนด สอดคล้องกับระยะเวลาของแต่ละโครงการตลอดปีการศึกษา โดยครูที่รับผิดชอบการทำรายงานและครูที่รับผิดชอบรายงานข้อมูลจะมีแบบบันทึกในคอมพิวเตอร์ตามรูปแบบของรายงานการประเมินตนเอง เมื่อถึงเวลารายงานก็สามารถนามารวบรวมต่อกันได้ วิธีการนี้จะทำให้ประหยัดเวลา ปฏิบัติได้ตามสภาพงานปกติและได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน
8. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตามวงจรคุณภาพ PDCA และเปรียบเทียบผลกับมาตรฐานในทุกขั้นตอน ใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนา ครูเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง ใช้การจัดการความรู้ การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ และการนาผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ในการทาแผนโดยวิเคราะห์ความสอดคล้องของแผนงาน โครงการกับมาตรฐานและตัวชี้วัดเพื่อพัฒนาต่อไป

สื่อและแหล่งเรียนรู้
...
การวัดและประเมินผล
ประเมินโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพตลอดระยะเวลาที่ทาการวิจัย การสังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในกระบวนการพัฒนา การบันทึกผลการประชุม ข้อมูลจากกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสัมภาษณ์ บันทึกข้อมูลสภาพจริงจากการไปเยี่ยมเยียนโรงเรียน ศึกษารายงานผลการดำเนินการวิจัยและข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง

บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
1. ผู้บริหาร ครูมีบทบาทการเป็นผู้ควบคุมระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน เปลี่ยนบทบาทเป็นหุ้นส่วนทางกลยุทธ์ (Strategic Partner) และเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) ของโรงเรียน
2. ผู้บริหาร ครูควรดำเนินการในเชิงรุกเกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน กำหนดกลยุทธ์การพัฒนาร่วมกันระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากับโรงเรียน

ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
1. โรงเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเป้าหมายหลักของการประกันคุณภาพการศึกษา ควรผ่อนคลายบทบาทการเป็นผู้ควบคุมระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน เปลี่ยนบทบาทเป็นหุ้นส่วน และเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) ของโรงเรียน
2. การสร้างเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน การพัฒนาระบบพี่เลี้ยงระดับโรงเรียน การสร้างความเข้าใจร่วมกัน การกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาร่วมกันระหว่างสานักงานเขตพื้นที่การศึกษากับโรงเรียน
3. ควรจัดให้มีการสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ประเมินภายนอก กับโรงเรียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในเรื่องจุดเน้นการประเมิน การพิจารณาตัวบ่งชี้บางตัวและเกณฑ์การพิจารณาที่อยู่นอกเหนือการควบคุมหรือเกินความสามารถของโรงเรียนที่จะดาเนินการได้ การพิจารณาสภาพจริงก่อนสรุปผลการประเมิน สร้างความเข้าใจและยอมรับในความแตกต่าง ทางวัฒนธรรม ข้อจำกัดของโรงเรียนเนื่องจากผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบและข้อจำกัด ด้านความพร้อมพื้นฐานอื่น ๆ



กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883